วันนี้ขอไว้อาลัยให้กับเพื่อนของผม รตอ.ธรณิศ ศรีสุข ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้กองแคนมันเป็นเพื่อนคนละห้องกับผม ไม่เคยคุยกัน แต่มันขึ้นรถ สาย8จากใน มข. มาโรงเรียนพร้อมกันกับผมทุกวัน แล้วก็สายไม่ทันเข้าแถวเหมือนกัน ทุกวัน แต่กิตติศัพท์มันลือเรื่อง ในด้านการชกต่อย ผมก็เลยรู้จักมัน(จากการอ่านชื่อที่เสื้อ และข่าวลือต่างๆจากเพื่อนในห้อง) แต่มันไม่รู้จักผมหรอก แต่มันก็ยิ้มให้ผมได้ทุกวัน ไปดีนะเพื่อน นายคือวีรบุรุษ
หายไปหลายวัน เกือบ 2อาทิตย์แน่ะ ครือว่า หาเรื่องมาเขียนไม่ได้ ครับ วันนี้ได้แวะเยี่ยมเว็บบอร์ดชุมทางแพะ เห็นคำถามของคุณศักดิ์สิทธิ์ ก็เลยมีไอเดียมาบ้างก็ขอเล่าเลยนะครับ กลุ่มอาการลูกแพะอ่อนแอแรกคลอด ยืนไม่ได้ 2-3 วันก็ตาย หรือยืนได้แต่ ยืนไม่มั่นคง ขากางเหมือนแมงมุม ทั้งๆที่พยายามป้อนนมก็แล้ว กกไฟก็แล้ว ยิ่งถ้าปล่อยแม่เลี้ยงโดยธรรมชาติโอกาสตายสูงมากครับ แน่นอนครับมันต้องมีสาเหตุ แต่ฟันธงตรงเผงคงไม่ได้ เพราะมันมีได้หลายสาเหตุ สาเหตุต่างๆเช่น
1.ง่ายๆเลยครับโดนแพะตัวอื่นเหยียบเมื่อคืน ลูกแพะจะเจ็บปวดและไม่กินนม แล้วก็ตาย
2.ลูกแพะไม่ได้กินนมน้ำเหลืองอย่างทันท่วงที
3.ลูกแพะคลอดก่อนกำหนด อาจจะได้รับสาเหตุการแท้งต่างๆ เช่น ทอกโสพลาสมา ที่สำคัญระวังบรูเซลโลซิสนะครับ
4 อากาศหนาวเย็นเกินไปตอน แรกคลอด แม่แพะเป็นแม่มือใหม่
นี่เป็นสาเหตุคร่าวๆ มันอาจจะมีอีกแต่ขี้เกียจพูดเพราะมันลงลึกเกินไปเสียคอนเซป แพะพอเพียงหมด 4ข้อมันคงไม่ยากเกินไปสำหรับท่านในการแก้ปัญหา เพราะมันเชื่อมโยงไปถึงการจัดการของท่าน
1.ลูกแพะโดนเหยียบ แก้ยังไง ก็แยกแม่แพะใกล้คลอดออกมาเลี้ยงเดี่ยวๆ ที่สำคัญ แพะมันชอบออกลูกตอนกลางคืน หมั่นตรวจดูนะครับ
2.ลูกแพะไม่ได้กินนม ก็ต้องป้อนครับ ภายใน 8 ชม.หลังคลอดต้องให้มันกินนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุด เพราะถ้าช้ากว่านั้นลูกแพะจะดูดซึมภูมิคุ้มกันในนมน้ำเหลืองได้น้อยลง ถ้าอ่อนแอมากๆก็ต้องป้อนล่ะครับงานนี้
3.ข้อสามนี้ป้องกันยากครับ ขึ้นอยู่กับดวงของท่าน โดยเฉพาะบรูเซลโลซีส ป้องกันได้แต่ถ้าท่านสมัครใจอยู่กับมันก็ระวังตัวหน่อยแล้วกันครับ (ทอกโสพลาสมา มีข้อมูลน้อยมากขอผ่านเลยแล้วกัน แล้วจะหามาให้ใหม่ ส่วนบรูเซลโลซิส ก็พูดมาเยอะแล้ว ลองอ่านดู)
4.อุณหภูมิในร่างกายต่ำ อันนี้แก้ง่ายๆครับ ก็หลอดไฟ กก เข้าไป แต่โดยความคิดส่วนตัวแล้วเราอ่านกันมามากๆ ก็ตามตำราฝรั่ง เพราะบ้านมันเป็นเมืองหนาวมาก โอกาศเกิดสูง แต่ผมคิดว่าในบ้านเราปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องลมโกรก ครับ โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ตามเชิงเขา และทางเหนือ ก็ระวังหน่อยนะครับ
เอาเป็นว่า ถ้าท่านพบลูกแพะที่อ่อนแอ แล้ววัดอุณหภูมิได้ ต่ำกว่า 100 ฟาเรนต์ไฮต์ ก็สันนิษฐานได้ว่า ลูกแพะท่านอาจเกิดภาวะช็อคเนื่องอุณหภูมิต่ำแก้ไขโดย เอาลูกแพะแช่ในน้ำอุ่นๆ (ถ้ากลัวมือเปียก ก็ไดร์เป่าผมนี่แหละครับ) หรือเอาหลังมือแตะพออุ่นๆ จากนั้นก็นวด ตามปลายเท้าทั้ง 4 ปลายหาง ประมาณ ซัก 5 นาที่ จากนั้นก็เอามาเช็ดตัวให้แห้ง เปิดไฟกกไว้ตลอด ดูแล้วถ้าลูกแพะมีอาการดีขึ้น ก็ให้น้ำเกลือซักหน่อย เข้าใต้หนังก็ได้ครับ ซัก 60ซีซี แล้วก็รีดนมน้ำเหลืองมาให้ลูกแพะกิน ระวังสำลักนะครับ
อีกอันนึงแม่แพะตัวไหนมีนมน้ำเหลืองเยอะๆอย่าทิ้งนะครับรีดเก็บไว้ แล้วแช่ฟรีซ ใช้ได้นาน วิธีการเพื่อไม่ให้นมน้ำเหลืองเสื่อมคุณภาพ ก็พยายามต้มที่อุณหภูมิ ไม่เกิน 40องศาเซลเซียส วิธีคือต้มน้ำไห้ได้ ประมาณ 40-50องศาเซลเซียส แล้วเอา ใส่กระติกที่เก็บอุณหภูมิดีๆ เช่นกระติก เทอมอส ที่เขาเอาไว้เก็บกับข้าวให้ร้อนอยู่เสมอ ถ้าไม่มีก็กระติกน้ำแข็งธรรมดานี่แหละครับ แล้วเอานมน้ำเหลืองใส่ลงไป (เอาออกมาตั้งทิ้งไว้ให้ละลายบ้าง) ปิดฝาให้แน่น ดูจนกว่านมจะละลายหมด ก็พอเอามาใช้ได้ครับ เหมาะมากเวลาเจอลูกแพะอ่อนแอ
อีกอย่างเน้นย้ำนะครับ ที่ผมพูดมาไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่ให้ท่านยึดหลักการคือ พยายามทำให้ลูกแพะอุณหภูมิร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ และได้รับนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุด อันไหนอ่านแล้ว ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือเปล่า อย่าฝืนทำนะครับ ปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้านท่าน จะเป็นทางออกที่ดีกว่า
ท่านคงเคยได้ยินได้ฟังสำนวนไทยที่ว่า "แพะรับบาป" และก็คงจะสงสัยว่าเหตุใดไฉนแพะจึงเป็นสัตว์ที่ต้องมารับบาปด้วย จะเป็นสัตว์อื่นไม่ได้หรือ?
"สมัยนั้น แพะคงหาได้ง่ายกว่าสัตว์อื่นมั้ง" "แพะเป็นสัตว์ไม่มีอันตรายจับได้ง่ายมั้ง" "ไม่รู้ซิ"
หาก ถามหลาย ๆ ท่านก็คงจะได้รับคำตอบทำนองนี้ แต่คำตอบเช่นนี้เป็นคำตอบที่คาดเดา หาความแน่นอน ชัดเจนถูกต้องไม่ได้ ส่วนคำตอบที่ถูกต้องมีหลักฐานยืนยันได้ถึงสาเหตุที่ทำให้แพะต้องมารับบาป นั้น ผู้เขียนขอนำศัพที่คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลแห่ง ราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาแล้วและมีมติ ดังนี้
คำว่า "แพะรับบาป" หมายถึง ผู้ที่มิได้กระทำผิด แต่กลับต้องเป็นผู้รับโทษ หรือรับความผิดที่ผู้อื่นกระทำไว้ ที่มาของคำนี้ปรากฏในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ซึ่งเป็นคัมภีร์ของชาวอิสราเอลผู้มีภูมิหลังเป็นผู้เลี้ยงแพะ แกะเป็นอาชีพ
แพะ รับบาปเป็นพิธีปฏิบัติในวันลบบาปประจำปีของชาวอิสราเอล (the annaul day of atonement) ซึ่งเริ่มด้วยการปุโรหิตถวายวัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของตนเองและครอบครัว เมื่อเสร็จพิธีแล้วนั้น ปุโรหิตจะนำแพะ ๒ ตัวไปถวายพระเป็นเจ้าที่ประตูเต็นท์นัดพบ และจะเป็นผู้จับสลากเลือกแพะ ๒ ตัวนั้น
สลาก ที่ ๑ เป็นสลากสำหรับแพะที่ถวายแก่พระเป็นเจ้าอีกสลากหนึ่งเป็นสลากสำหรับแพะรับ บาป หากสลากแรกตกแก่แพะตัวใด แพะตัวนั้นจะถูกฆ่าและถวายเป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปของประชาชน เรียกว่า "แพะไถ่บาป"
ส่วน สลากที่ ๒ หากตกแก่แพะตัวใด แพะตัวนั้นเรียกว่า "แพะรับบาป" ซึ่งปุโรหิตจะถวายพระเป็นเจ้าทั้งยังมีชีวิตอยู่ แล้วใช้ทำพิธีลบบาปของประชาชนโดยยกบาปให้ตกที่แพะตัวนั้นเสร็จแล้วก็จะ ปล่อยแพะตัวนั้นให้นำบาปเข้าไปในป่าลึกจนทั้งแพะและบาปไม่สามารถกลับมาอีก (ลนต. ๑๖ : ๖–๑๐, ๑๕–๒๒)
ส่วน ในศาสนาฮินดู เซอร์มอเนียร์ วิลเลียมส์ (Sir Monier Williams) สันนิษฐานว่า การฆ่ามนุษย์บูชายัญคงไม่เป็นที่ถูกอัธยาศัยพื้นฐานของพวกอารยัน คัมภีร์พราหมณะจึงอธิบายว่าเทวดาฆ่ามนุษย์ ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชายัญก็ออกไปจากมนุษย์เข้าสู่ร่างม้า ม้าจึงกลายเป็นสัตว์ที่เหมาะสมจะใช้ฆ่าบูชายัญ เมื่อฆ่าม้า ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชาก็ออกจากตัวม้าไปเข้าสู่ร่างโค เมื่อฆ่าโค ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชา ก็ออกจากตัวโคไปเข้าสู่ร่างแกะ จากแกะไปสู่แพะ ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชา คงอยู่ในตัวแพะนานที่สุด เพราะฉะนั้น แพะจึงกลายเป็นสัตว์เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ฆ่าบูชายัญ ซึ่งก็ทำให้เห็นที่มาอีกแห่งหนึ่งของคำว่า "แพะรับบาป"
คำอธิบายของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล คงตอบปัญหาข้อสงสัยของท่านผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
ผู้เขียน นายสำรวย นักการเรียน ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๐๒, พฤศจิกายน ๒๕๔๒