อาการเป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสียอีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้
เมื่อเริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปนเปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้
ในรายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้เช่น Kaolin pectin (มีขายตามร้านยาคน ถ้าจะให้ดีซื้อยกแกลลอนจะถูกกว่า) ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในรายที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วย
ยาปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกันเชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่า
แต่ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มีราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์
วันพฤหัสบดี, กันยายน ๐๖, ๒๕๕๐