หลายๆท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านต้องต้อแต๊ เนื่องจากแพะสุดหวงของท่านมีอันเป็นไปไม่ทราบว่าน้อยใจเจ้าของที่ไม่ค่อยดูแลเลยน้อนใจตายไปก่อน ล้อเล่นนะครับ หลายๆท่านที่เคยอ่านบล็อกผมมาเรื่อยๆ หรือการอ่านจากตำราหรือคู่มือการเลี้ยงแพะในบ้านเรา มักจะมีโรคสำคัญที่มักกล่าวถึง คือโรคพยาธิ ทีนี้ หลายๆท่านคงอยากจะทราบว่าอีพยาธิอันน่าชังเนี่ย มันจะเป็นตัวไหนบ้าง แฮ่ๆ ตอบตามตรงครับจำไม่ได้ รู้แต่ว่ามีกลม กับแบน(ไม่ใช่เหล้านะครับ) เ
อาหล่ะเข้าเรื่อง ตามที่จั่วหัวเรื่องนะครับ การตายอันไม่ทราบสาเหตุ มันมัไม่กี่โรคหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงก่อนคือ ฤดูกาลหรือสภาพอากาศ ว่าช่วงวลานั้นๆมันเอื้ออำนวยกับโรคอะไรได้บ้าง เช่น กรณีพยาธิเม็ดเลือด และ โรคปอดพาสเจอร์เรลโลซิส มักจะเกิดในช่วงที่มีฝนชุกความชื้นสูง เช่นที่ผมพูดถึงในเรื่อง ออกซี่เตตราไซคลิน ลองตามอ่านดูนะครับ พอดีผมลืมบางอย่างที่มันเป็นพื้นฐาน ซึ่งมันน่าเขกกระโหลกจริงๆลืมมันไปได้ พยาธิครับพี่น้อง มันก็มาได้พร้อมๆกันน่ะแหละ
แล้วที่นี้พยาธิตัวไหนที่มันเป็นอันตรายกับแพะของเราๆท่านๆบ้างหละ ผมถือคติที่ว่า รู้เขารู้เรา รบ 100 ครั้งชนะ 100 ครั้ง เรารู้ตัวเราเองว่าอยู่ในเขตร้อนชื้น โอกาศมีพยาธิ มัน 1000% อยู่แล้วครับ แล้วพยาธิตัวไหนล่ะที่มันเป็นแม่ทัพและอันตรายกับเรา มากที่สุด (ไอ้พยาธิตัวอื่นๆมันก็มี แต่ผมถือว่ามันปลาซิวปลาสร้อย เราต้องฆ่าไอ้ตัวที่มันอันตรายที่สุดก่อน)
ผมขอเสนอไอ้ตัวร้ายตัวแรกเลย เพราะอะไรรู้มั้ยครับ เพราะมันเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้แพะท่านตายอย่างเฉียบพลัน คือพยาธิ เอ่อ ลืมชื่อไทยครับ ขอทับศัพท์แล้วกัน ฮีมองคุส เป็นพยาธิตัวกลม ที่มีลักษณะเด่นคือเมื่อมองตอนตัวมันเป็นๆ จะเห็นเป็นเกลียวๆขาวแดงสลับกัน ถ้านึกภาพไม่ออกท่านเคยเห็น ไอ้ท่อทรงกระบอกหมุนๆขาวแดงที่อยู่ตามร้านตัดผม หรือร้านเสริมสวยไหมครับ น่านแหละครับ ฝรั่งมันเลยตั้งชื่อว่า หนอนพยาธิบาร์เบอร์ (ไม่ใช่บ้าเบอร์นะครับ) Barber's pole worm (Haemonchus contortus) อีพวกนี้มันจะพบทั่วโลก ส่วนมากจะเกิดในเขตร้อนชื้น มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก บางครั้งทำให้แพะตายแบบเฉียบพลันโดยไม่แสดงอาการอะไรเลย การรักษาไม่ค่อยได้ผล เพราะแพะท่านจะตายซะก่อน การป้องกันเป็นวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด
อีพยาธิช่างตัดผมตัวนี้ มันจะอาศัยอยู่ในกระเพาะแท้ ถ้าภาษาบ้านเราก็น่าจะเป็น 30กลีบ มีความยาวประมาณ 2-3 ซม. การแพร่พันธ์มันก็โดยไข่ ออกมาทางอุจจาระปริมาณอันมหาศาล และฟักตัวได้รวดเร็วในพื้นคอกกลายเป็นหนอนตัวเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คลานกระดึ๊บๆตามแปลงหญ้าบ้าง กองอาหารบ้าง เมื่อแพะกินมันเข้าไปมันจะเจริญเต็มที่ ตอนประมาณ 3สัปดาห์ จากนั้นก็วางไข่อีก วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์ และไข่มันจะฟักตัวเร็วมากในช่วงร้อนชื้น
อาการสำคัญที่พบมากในแพะคืออาการซีดๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการเสียเลือด ในรายที่เป็นรุนแรงมากๆอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย มองตาดปล่าแพะสุขภาพดีอาจตายไม่ทราบสาเหตุ อีกวิธินึงในการตรวจคร่าวๆคือการดูเยื่อบุตา คือมันจะซีด หรืออาจจะสังเกตุดูตอนปล่อยแพะลงแปลงแล้วตอนที่ไล่มันกลับเข้าคอก มันจะมีแพะวิ่งช้าๆ ดูเหนื่อยๆ มากกว่าตัวอื่นๆ หรืออีกวิธีการนึงคือดูที่คางของแพะที่มีการติดพยาธิเรื้อรัง คางมันจะบวมๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาการนี้มันจะเกิดขึ้นทั้งหมด แต่จากประสบการณ์ ถ้าคางบวม แล้วฉีดยาฆ่าพยาธิ ประมาณ 70เปอร์เซนต์มักจะหาย(ความเห็นส่วนตัว) แต่นอกจากนี้แล้วอาการพื้น ๆก็อ่อนแอ ผอมขนหยาบท้องเสีย แต่การวิเคราะห์หาสาเหตุโรคก็อาศัยการตรวจทางแลบ หรือกรณีที่มีแพะตายลองผ่าซากดูเพื่ออาจจะเจออะไรเจ๋งๆก็ได้
การรักษา ส่วนมากโดยการกิน มันจะมี 2แบบให้เลือกนะครับ
1การรักษาแบบหว่านแหทีเดียวอยู่คือ ฆ่าได้เกือบทุกระยะ และทุกชนิด
-ให้พวกกลุ่ม benzimidazole(ซึ่งก็คือ อัลเบนดาโซล นั่นเอง) คู่กับ Levamizole
2.กรณีแน่ใจว่าเป็นไอ้พยาธิช่างตัดผม ก็อาจจะให้ Closantel เพื่อกำจัดตัวอ่อนก็ได้
อย่างไรก็ตามแนะนำให้ฉีด Ivomec ร่วมด้วยทั้ง2แบบ(ไม่จำเป้นต้องเป็น Ivomec-F)
โดยทั่วไปแล้วพยาธิช่างตัดผมนี้มันมักจะไม่ค่อยดื้อยาเท่ากับพยาธิชนิดอื่นๆ แต่ ฝรั่งมันแนะนำว่าให้ใช้Closantel เป็นหลักเพราะมันบอกว่า การใช้ยาตัวอื่นๆทำให้พยาธิสายพันธ์อื่นดื้อยาได้ แต่ความเห็นส่วนตัวผมบ้านเรามันดื้อยาหมดแล้วครับเพราะใช้ยากันเปรอะเหลือเกิน แถม ไม่รู้ว่าClosatel เนี่ยมันมีขายที่ไหน เอาเป็นว่าตอนนี้บ้านเรา มีแค่ อัลเบนดาโซล กับไอเวอร์เมคใช้กันประจำทุกครัวเรือน คาดว่าคงดื้อยาหมดแล้ว เหลือลีวาไมโซลอีกตัวนึงที่น่าสนใจครับ ลองถามดูกับปศุสัตว์ใกล้บ้านท่านนะครับ แล้วก็ปรึกษาการใช้ยาเพื่อถ่ายพยาธิแบบพอเพียง คือใช้แล้วถูกที่สุด ได้ผลดีที่สุด และไม่ดื้อยา เพื่อความยั่งยืน
การควบคุมในกรณีที่ท่านต้องอยู่กับมันอย่างเสียมิได้ เมื่อท่านตรวจพบแล้วว่ามันเป็นแน่ๆ ในฝูงของท่านต้องได้รับยาอย่างทันที โดยมีทริคเล็กน้อยคือหลังจากให้ยาแล้ว ในนำฝูงแพะไปอยู่ในที่ที่แห้งทันที เพื่อป้องกันการได้รับตัวอ่อนเพิ่ม แล้วก็ทำความสะอาด ปล่อยให้แห้งตากแดด ค่อยนำแพะกลับมาอยู่อีกที ดังนั้นวิธีการกันดีกว่าแก้คือก่อนเข้าหน้าฝนควรมีการถ่ายพยาธิ ครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตามไอ้อาการตายเฉียบพลันเนี่ยมันเป็นไปได้หลายสาเหตุ ผมอนุมานว่ามันคงเป็นกลุ่มโรค ที่มีโอกาสเป็นได้หลายๆอย่าง ต้องอาศัยการรักษาแบบบูรณาการ(ภาษาชาวบ้านคือ ฆ่าแม่มให้หมดหรือเหลือน้อยที่สุด) เพื่อความยั่งยืน คือเมื่อเราทราบว่าน่าจะเป็นอะไรได้บ้าง ก็ค่อยรักษาและป้องกัน แต่อย่างนึงที่อยากจะบอกคือโรคพวกนี้มันจะมาเป็นฤดูกาลเราต้องป้องกันก่อนเสียหาย รู้ว่าโรคมาแน่แต่ไม่ป้องกันอะไรซักฮย่าง ก็เตรียมตัวเจ๊งกันล่ะครับ บางท่านอาจจะเคยเจอปัญหามาบ้าง แต่บางคนก็ว่าอย่างนั้น บางคนก็ไม่ยอมบอกหรอก ประมาณว่าเจ๊งมาเยอะ คนอื่นต้องเจ๊งบ้างดังนั้น มีอะไรก็เตือนๆกันครับ มันจะยั่งยืน
วันพฤหัสบดี, กันยายน ๐๖, ๒๕๕๐