หน้าฝนนี้เป็นยังไงบ้างครับพี่น้องแพะ รู้สึกยินดีมากครับ เขียนบล็อกครั้งแรก เจ้าพ่อแพะออนไลน์ คุณโกร่งแห่งชุมทางแพะ ก็มาคอมเมนต์แล้ว ขอบคุณด้วยความชื่นชม วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเบาๆที่เราๆทุกท่านคงทราบกันดี ว่าตอนนี้จะเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าวันใหน ปีนี้หวังว่าพี่น้องมุสลิมคงมีกำลังซื้อสูงๆเช่นเคยนะครับ แต่ก่อนอื่นปัญหาของเราก็คือเราจะเอาไปส่งให้พี่น้องมุสลิมที่อยู่ทางใต้ยังไงดี

อันดับแรกปัญหาของเราคือการเคลื่อนย้าย สาเหตุที่ทำการเคลื่อนย้ายลงใต้ลำบากคือ

1.ตั้งแต่ จังหวัดชุมพรลงไปจงถึง 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครม.ปีไหนไม่รู้จำไม้ได้ ระบุว่าเป็นเขตปลอดโรคระบาด เฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย ใน โค กระบือ แพะ แกะ สุกร (สัตว์กีบคู่ทั้งหมดเพราะโรคปากและเท้าเปื่อยเกิดในสัตว์กลุ่มนี้) เพราะฉะนั้นหลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้ใดที่มีความประสงค์จะเคลื่อนย้ายสัตว์ดังกล่าวเข้าเขตปลอดโรค ภายในเขตปลอดโรค(ข้ามจังหวัด ในจังหวัด) ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี (หรือใบ ร.4 นั่นเอง) ถ้าไม่มีใบเคลื่อนย้าย โดนจับครับพี่น้อง

2.ตั้งแต่เกิดโรคบรูเซลโลซิสขึ้นมา (แต่เดิมเรียกแท้งติดต่อ แต่ในแพะบางตัวไม่แท้งแต่เป็นโรค เพื่อลดความสับสนจึงเรียกทับศัพท์แทน) หลวงท่านไม่ได้ประกาศว่าภาคใต้เป็นเขตปลอดโรคบรูเซลโลซิสนะครับ แต่ทำไมทางปศุสัตว์ถึงต้องบังคับให้ตรวจโรคด้วย จริงๆแล้วท่านสั่งให้ทางจังหวัดเข้มงวดการออกใบ ร.4 ถ้าไม่มีผลเลือดก็ไม่ออกใบ ร.4ให้ ซึ่งผลเลือดนั้นๆต้องเป็นผลมาจากศูนย์ชันสูตร หรือสถาบันสุขภาพสัตว์เท่านั้น (ของหน่วยงานอื่นๆไม่รับ เช่น มหาลัยของรัฐ ) ดังนั้นไม่มีผลเลือดไม่ออก ร.4 ไม่มีร.4 ก็เคลื่อนย้ายไม่ได้ ไม่ว่า ในจังหวัดตัวเอง ไปจังหวัดอื่น หรือลงใต้

เห็นปัญหายังครับ แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะถึงลงใต้ได้ อันดับแรกมาดูก่อนเลย ประเด็นโรคปากและเท้าเปื่อย

1.ท่านต้องกักกันสัตว์ของท่านก่อนเข้าเขตปลอดโรคอย่างน้อย 21 วัน คำถามต่อมาเราจะกักกันที่ไหนดี มี2 ทางคือส่งไปกักที่ศูนย์กักสัตว์ ของกรมปศุสัตว์ ที่เพชรบุรี ทางที่ 2เข้าศุนย์กักสัตว์เอกชน (หรือฟาร์มของท่านนั่นเอง) แต่มีเงื่อนไขที่ว่าฟาร์มของท่านต้องผ่านการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซึงใบรับรองดังกล่าว มีอายุ 90วัน หรือทำแบบมาตรฐานสุดๆก็ได้ 1ปีไปเลย รายละเอียดลองไปติดต่อปศุสัตว์ในท้องที่ของท่านนะครับ


2.แพะของท่านต้องผ่านการฉีดวัคซีน ปากและเท้าเปื่อย อันนี้คงไม่ยาก

จากความเห็นส่วนตัวของผม แนะนำให้ท่านทำคอกกักเอกชนครับ (ดูแลแพะตัวเองดีกว่าจ้างคนอื่น)เลือกประเภทคอกกักกันสัตว์ก่อนเข้าเขตปลอดโรค เมื่อได้ใบรับรองคอกกักมาแล้ว90วัน ท่านก็เริ่มรวบรวมแพะ ติดต่อคนซื้อแถวๆภาคใต้ในเดือนแรก พอครบตามออร์เดอร์เดือนที่2ก็เริ่มทำวัคซีน ติดเบอร์หู(ขั้นตอนนี้ติดต่อด่านกักกันสัตว์ใกล้บ้านท่าน หรือปศุสัตว์อำเภอ) ครบ21วันก็ยื่นเรื่องขอ ร.4อีกครั้งพร้อมทั้งแนบรายละเอียดการทำวัคซีน (หรือเอกสารอื่นๆที่หลวงท่านร้องขอ)


อ่าเรียบร้อยสำหรับปากเท้าเปื่อย ที่นี้เรามาคุยกันประเด็นที่ 2 โรคบรูเซลโลซิส งานนี้เราต้องช่วยตัวเองเป็นหลักครับ ทำควบคู่กันกับโรคปากและเท้าเปื่อย เมื่อรวบรวมแพะครบแล้วอันดับแรกติดเบอร์หูก่อนเลย เจาะเลือด แยกซีรั่ม ตรวจเอง ทำยังไงก็ได้ให้แพะทั้งฝูงปลอดโรค โดยแพะที่ตรวจแล้วบวกทำลาย แพะที่ลบเก็บไว้ก่อน อีก 14วันถัดมาตรวจซ้ำอีกที่ แล้วแพะเราก็ปลอดโรค(หรือเปล่า) 15วันก่อนเคลื่อนย้ายตรวจอีกที คราวนี้ล่ะเอาเลือดชุดนี้ส่งศูนย์ชันสูตรครับ แล้วก็รอผล ได้ผลมาก็ส่งเรื่องพร้อมโรคปากเท้าเปื่อยครับ เท่านี้เราก็ได้ ร.4 มาอย่างง่ายดาย (หรือเปล่า?)


ยังยังไม่พอ เรามีวิธีง่ายกว่านั้น(ถ้าท่านคิดจะผลิตแบบครบวงจรคือมีแพะตัวผู้น้ำหนัก18-20 กก.เป็นผลผลิตออกมาเดือนละ 100-200ตัว โดยไม่ต้องซื้อมาจากที่อื่น) ทำเป็นฟาร์มปลอดบรูเซลโลซิส เอาผลจากข้างผลนั่นแหละมาขยายผลต่อ ผลิดแพะปลอดโรคขาย ให้คนอื่นซื้อไปทำฟาร์มปลอดโรคต่อไป แล้วรวมกลุ่มกันทำเป็นคอกกัก ทีนี้ล่ะพ่อค้ามันต้องวิ่งมาหาเราแล้ว หรือไม่งั้นวิ่งเองเลยไม่ต้องง้อมัน สาเหตุที่ต้องทำฟาร์มปลอดโรคเนื่องจากถ้าท่านได้รับรองปลอดโรคแล้วท่านไม่ต้องตรวจโรคก่อนเคลื่อนย้าย ทำวัคซีน กัก 21วันออกได้เลย
รายชื่อฟาร์มแพะปลอดโรค


เห็นมั้ยครับ ส่วนนี้คือส่วนต่างของราคาแพะที่พ่อค้ามันต้องมากดราคาพวกเราไหนจะค่าขนส่ง ค่าดำเนินการในการกัก ค่าอื่นๆ จิปาถะ ผมว่าถ้าในแต่ละพื้นที่รวมกลุ่มกันทำให้เป็นระบบ วงการแพะคงเจริญกว่านี้

date วันพฤหัสบดี, กันยายน ๐๖, ๒๕๕๐

5 ความคิดเห็น to “เรามาเตรียมตัวก่อนเคลื่อนย้ายแพะลงใต้กันเถอะ”

  1. ไม่ระบุชื่อ
    ๑๐/๑๒/๒๕๕๒ ๑๑:๑๑ ก่อนเที่ยง

    ได้รับแพะโครงการใน 3จังหวัดชายแดนใต้ แพะมาจากจังหวัดในภาคกลาง มาถึง 2-3วัน แพะทยอยตาย ตอนนี้เหลือไม่กี่ตัวแล้ว ช่วยตอบผมทีเพราะเหตุใดแพะถึงตาย

  1. แพะพอเพียง
    ๑๐/๑๘/๒๕๕๒ ๘:๑๗ ก่อนเที่ยง

    แพะมันรวมกันมา ครับ หลังจากการขนย้ายมันมักจะเครียด จากการขนส่ง ยิ่งหน้าฝนแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ ส่วนมากจะเป็นโรคปอดอักเสบ ท้องเสีย อีกอย่าง แพะ มันเป็นสัตว์ฝูง มันมักจะมีตัว จ่าฝูงชนตัวมาใหม่ หน้าฝนระวังครับ อัตราสูญเสีย สูงมาก

  1. ไม่ระบุชื่อ
    ๑๑/๐๑/๒๕๕๒ ๖:๔๘ ก่อนเที่ยง

    มีเบอร์โทร.ไหม๊ค่ะ อยากโทร.ปรึกษาค่ะ
    อยากทราบค่ะว่าถ้าเลี้ยงเฉพาะแพะขุนอย่างเดียว
    ตอนขายจะทำใบ ร.4 ตรวจเลือดลูกแพะทุกตัวไหม๊
    แนะนำด้วยค่ะ หรือใช้ใบปลอดโรคของพ่อแม่แนบ

  1. แพะพอเพียง
    ๑๑/๐๕/๒๕๕๒ ๙:๓๐ ก่อนเที่ยง

    ขายลูกแพะ ไม่น่าจะได้กำไรมากนะครับ ลูกแพะอายุที่ต้องตรวจ คือ6เดือนขึ้นไป ต้องตรวจโรคก่อนออกใบอนุญาต โดยผลต้องเป็นลบ ก่อนเดินทาง 3เดือน ผมว่าทางที่ดีตรวจทั้งฝูงเลยดีกว่า สบายใจดี ติดต่อได้เลยครับที่สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดที่คุณอยู่ น่าจะได้คำตอบเรื่องใบอนุญาต ดีกว่า ถ้าสงสัยอะไรก็โพสท์ข้อความไว้ครับ เดี๋ยวจะชช่วยตอบให้

  1. Unknown
    ๕/๑๐/๒๕๕๕ ๑๐:๒๑ หลังเที่ยง

    ให้กำลังใจครับ คุณเขียนบล๊อคได้มีประโยชน์มาก และที่สำคัญผมสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี ถ้าไม่รังเกียจผมขอสิงอยู่ที่บล๊อคของคุณนะครับ