ในช่วงหน้าฝนที่ฝนตกไม่ยอมหุยดและฝนชุกๆอย่างนี้ ผมมักได้รับคำถามเสมอๆว่า ทำไมแพะถึงตาย ส่วนมากหลังจากการสอบถามโทรศัพท์ มีหลากหลายอาการ และทำการรักษาไม่รอด คำถามนี้มันก็ตอบยากนะครับ เพราะมันเป็นกลุ่มอาการ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่พอสรุปคร่าวๆได้ 3 สาเหตุที่ทำไห้แพะตาย
1.ปรสิต หรือ พยาธินั่นเอง เจ้าตัวปัญหาที่พบประจำในพื้นที่บ้านเรา ตามสภาพภูมิอากาศ อาการหลักๆ ที่แพะสุดที่รักท่าน น่าจะเป็นพยาธิ คือ ตาซีด ขนหยาบ ไม่ค่อยมีแรง
พยาธิถือได้ว่าเป็นโรคประจำตัวของแพะในหน้าฝนเลยก็ว่าได้ ยิ่งร้อนสลับฝนด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่ แต่เรามีข้อแก้ไขนะครับ นั่นคือ การเลี้ยงปล่อยแปลงหญ้าแบบหมุนเวียน
ทำไมต้องสลับเปลี่ยนแปลงหญ้า ก็เพราะว่า พยาธิมันไม่มีขาครับ เดินไปไม่ได้ มันต้องอาศัยตัวแพะในการแพร่กระจายโรค เพราะฉนั้น แปลงหญ้าใหม่พลพรรคพยาธิมันก็ไปไม่ได้ มันอยู่แปลงไหนแปลงนั้น เมื่อไม่มีแพะให้มันสิงสถิตย์ มันก็ตายจากไป
แต่ช้าก่อน พยาธิพวกนี้มันอยู่ในขี้แพะ ตรงไหนมีการเล็มกินกับพื้นมากๆ ก็ติดง่ายมาก แต่ท่านใดปล่อยแปลงที่มีไม้พุ่มมากๆ ก็โอกาสเป็นพยาธิน้อยลง แนะนำให้ท่านมีแปลงหญ้า ซักประมาณ 3แปลงเป็นอย่างน้อย เลี้ยงหมุนเวียนคราวละ 21วัน ทำไมต้อง 21 วัน เนื่องจากวงจรชีวิตพยาธิส่วนใหญ่ มันจะโตเต็มวัยในช่วง 21 วัน
ท่านที่ผสมอาหารเอง ก็แนะนำให้ผสมอาหารจำพวกพืชน้ำมันมากขึ้น เช่น กากปาล์ม กากเมล็ดนุ่น เพื่อให้มันเคลือบลำไส้ กันพยาธิเกาะผนังลำไส้ ยาที่ให้ก็น่าจะเป็น ไอเวอร์เมคติน ฉีด กับกรอกอัลเบนดาโซล ไม่แนะนำให้ทำการถ่ายพยาธิแบบเป็นตารางเช่นเดือนละครั้ง
ถ้าจะให้ดีการถ่ายพยาธิควรทำเมื่อมีปริมาณมาก เช่นเข้าหน้าฝน หรืออาจจะส่งขี้ไปตรวจก็ได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการดื้อยา (หรือว่าบ้านเราดื้อหมดแล้ว?) หรือเมื่อฝนตกหนัก เก็บขี้ไปตรวจ บอกแลบด้วยว่าให้ตรวจปริมาณไข่พยาธิด้วย จากนั้นก็ทำการถ่ายพยาธิอาทิตย์ละครั้ง 3ครั้งติดต่อกัน เมื่อครบ 3ครั้งแล้วก็เก็บขี้ไปตรวจแบบเดิม แล้วท่านจะพบว่ายาที่ท่านให้ไปพยาธิมันดื้อหรือเปล่า โดยดูจากปริมาณไข่ที่ลดลง
2.โรคที่เป็นกันมากแต่ไม่ค่อยมีใครคาดคิด มุ่งแต่พยาธิอย่างเดียว บิดครับบิด หรือคอคซิเดียที่เคยกล่าวไปแล้วนั่นเอง ข้อควรจำคือมักเป็นใน แพะที่อายุต่ำกว่า 10เดือน อาการเด่นๆคือ แพะแกร็นไม่ค่อยโต ท้องกาง ขนหยาบ ทั้งนี้เชื้อพวกนี้มันมีสาเหตุเนื่องจากการที่คอกขาดสุขลักษณะที่ดี พูดง่ายๆก็คือ สกปรกครับสกปรก
โรคนี้ติดต่อง่าย รักษายาก แต่ป้องกันง่าย(เอ๊ะยังไง?) การป้องกันคือยกพื้นสูงตามแบบฉบับที่แนะนำทั่วไป แต่มีข้อเพิ่มเติมคือพยายามให้มีแอ่งมุมซอกหลืบมากนัก และให้มีคอกระบายน้ำที่ดีแห้งง่าย สาเหตุเพราะเชื้อพวกนี้มันไปกับน้ำครับ น้ำไปถึงไหน เชื้อไปถึงนั่นครับ รางน้ำให้ล้างทุกวัน และพยายามอย่าให้แพะขี้ลงน้ำได้ครับ หรือไม่ก็ผสมยากันบิดลงไปในน้ำกิน(แต่ยาแพงบรรลัยเลย)
3.โรคขาดแร่ธาตุ หน้าฝนนี้แร่ธาตุบางอย่างถูกชะไป หรือบางพื้นที่อาจจะขาดแร่ธาตุหรือมีปริมาณน้อย แต่ที่ฟังๆมาก็มักจะพบว่าขาด ซีลีเนียม แก้ไขโดยการฉีดและเพิ่มอาหารคุรภาพดี เช่นแพงโกล่า อัลฟาฟา ก็คงพอช่วยได้บ้าง
พวกนี้รายละเอียดมันค่อนข้างเยอะ บางท่านอาจจะมีข้อมูลดีๆช่วยกันบอกด้วยครับ เพื่อพัฒนาวงการแพะของเรา
มารู้จัก มก. กันดี กว่า
มีต้นไม้เยอะแถมยังรกแต่ยังไงก็ยังร้อน และแดดแรงเสมอ ........แต่นิสิตก็ชอบ
มีนิสิต เยอะที่สุด เพราะมีหลายวิทยาเขต
-คณะวิดวะมี ตึกดีที่สุด - -" ......คณะมนุดมีตึกกระจอกสุดๆ
- Eng 1- 4 เป็นวิชาที่ทำให้คนเรียนไม่จบ มากพอๆๆกับ Gen-Chem (General Chemistry)
- มหาลัยนี้มี สะพานข้ามแยก อุโมงค์(กำลังสร้าง) สี่แยกและถนนเป็นของตนเอง แยกเกษตร สะพานข้ามแยกเกษตร อุโมงค์เกษตร และ ถนนเกษตร - นวมินทร์)
-เรามีคณะสถาปัด ที่เป็นเด็กแนวที่ สุด คีบแตะ นุ่งยีนส์ หัวฟู
-นิสิตที่นี้ ต้องเรียนพละทุกคน
- มีชมรมยิงธนู อยู่ข้างสนามรักบี้,สนามบอล, สนามบาส และ ดาวกระจุย (เวลาเล่นกีฬาอื่นๆ ต้องคอยระวังให้ดี ไม่เชื่อไปถามเทควันโด้ดูได้)
- เกษตร รับน้อง ได้เร้าใจ อย่างที่สุด
- เซเว่นเปิดไม่ ตลอด 24 ชม. เพราะปิด 4 ทุ่ม
- ที่นี้เราสอน ตั้งแต่ ปลูกผัก ยัน ทำเครื่องบิน
- เรามีหอ ชาย ที่อยู่ใกล้คณะที่มีผู้หญิงเรียนมากที่สุด (เพียง 2 เมตร ก็ถึงแล้ว )
- คณะ วนศาสตร์เป็นคณะที่วิ่ง เก่งที่สุด
-คณะมนุด อยุ่ใน ซอกหลืบ ของมหาลัย
- ตลาด นัด 15 - 30 - 1 เป็นตลาดที่เหมือนตลาดสดมากที่สุด (มีตั้งแต่ ผัก ยันอาหารสำเร็จรูป ) แถมยังมีอุปกรณ์ไฮเทคมาขาย ด้วย
- 20 บาท ก็อิ่มได้ที่ วิด ยา
- จักรยานเป็นพาหนะสำคัญ สำหรับคณะ บ้าน นอก
- สโม ของ คณะมนุดเหมือน ห้องเก็บ ของ
- คณะถาปัด มีตึกที่ดีกว่ามนุด 100 เท่า
- ท่านสามารถลง Gen-Chem ได้สูงสุด 11 ไม้ ใน 4 ปี
- สุนัขที่ SCL, สระว่ายน้ำ, ประตูพหล1 มันไม่ใช่สุนัข แต่มันเป็นหมู!
- หอหญิง เปลี่ยวกว่าหอชาย
- อยู่บริหาร ปั่น จักรยาน : แปลก! ... อยู่ประมง ขับรถเก๋ง : แปลกกว่า!
- ทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือนอย่าแปลกใจที่ไปกอง กิจฯ ...แล้วเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ เพราะเจ้าหน้าที่ไปเดินตลาด นัด
- นิสิตใหม่จะทำการปลุกต้นนนทรีประจำ รุ่น และแต่งคำขวัญร่วมกัน และหลังจากจบการศึกษา ต้นนนทรีจะออก ดอกพอดี
- ก่อนหวยออกหนึ่งวันจะมีตลาดนัด ตั้งต้นจากบาร์ใหม่
- ศร.3 เป็นที่บันเทิงยิ่งนักเพราะหาที่จอด รถยาก
- โรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ใหญ่กว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่นิสิตในมหาวิทยาลัยเป็น นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์เยอะที่สุด
- ที่คณะ สัตวแพทยศาสตร์ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสระน้ำสำหรับสุนัข และมีชื่อว่า สระสุวรรณชาด ซึ่งแปลว่า ทอง แดง
- ก่อนจะลงป้ายจะหนักใจ เพราะไม่รู้จะ เลือกเข้ามหาลัยหรือว่าอมรพันธ์ (แหล่งร้าน เกม)
- ทางเดินในบาร์ใหม่ เป็นที่ไว้ให้หมาน้อยนอนเล่น และแมวดุ
- ความจริงแล้ว เกษตรศาสตร์ จะมีงานสองงาน คือ งานเกษตรแฟร์ไว้ขายสินค้าเกษตร และ งานเกษตรแห่งชาติ มีไว้แสดงผลงานวิชาการเกษตร
- หนังเรื่อง shutter เคยถ่ายทำที่ ศร.1 บรื๋อ ! เรื่อง season change ก็ถ่ายด้วยนะ ตึกพักชายที่ 13 ไง
- วิชาเคมี เป็นวิชาที่นิสิต รักที่สุด เพราะ add แล้ว add อีก
- สำนักหอสมุด ส่วน ใหญ่ ชั้น 2 เย็นกว่า ชั้น 3
- ท่านสามารถดู กายกรรมเปียงยางได้ที่ ศร.3 (b boy)
- เมื่อก่อนที่บาร์ใหม่ ต้องแย่งพัดลมกันเพราะร้อนมาก ตอนนี้มีแอร์ แล้ว
- ทุกคนคงจะรู้จัก ระเบียบเชียร์ !!
-อาหารคณะวิดยาอร่อยที่ สุด เป็นที่เดียวที่คณะอื่นมากินที่วิดยาแต่วิดยาแทบจะไม่เคยไป กินที่คณะอื่น (ยกเว้นประมง)
- ใต้ ศร.3 จัดกิจกรรมบ่อยมากๆ บันเทิงทั้ง นั้น
- ชมรมลูกทุ่งดาวกระจุย (ชมรมเพลง ลูกทุ่ง) อยู่คู่กับเกษตรมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ
ที่มีเกษตรเป็นมหาลัยยอดนิยมที่มีคนเลือกมากที่สุดในปีนี้
- ความจริงเกษตรศาสตร์มีพื้นที่ใหญ่กว่านี้มาก แต่ต้องแบ่ง พื้นที่บางส่วนให้กับหลวงเพื่อสร้างประโยชน์ทางด้านอื่นทั้ง องค์กร สำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้ง หมดแม้กระทั่งบริจาคพื้นที่เพื่อขยายถนน
- มหาลัยแห่งนี้กำลังจะมีหอสมุดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศ
- ที่นี่มีรถตะลัยครับ เพราะมาจากคำว่า รถตะลุยมหา'ลัย เรียก ย่อๆ ว่าตะลัย
- ที่มีมีเสาธงประหลาด เพราะ เสาธงเป็นรูปเมล็ดข้าว
-แยกปากหมาในอดีตอยู่ ที่วิดวะนี่เอง
- หลังสอบจะเป็นช่วงที่นักการ ภารโรงน่าสงสารกว่านิสิต เพราะต้องไปเก็บเศษดอกไม้ธูปเทียนที่ นิสิตไปไหว้อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์
- วิชาเคมียากมาก ขนาดคนที่เรียนสาขาเคมียังบ่น เลย แถมบางคนยังมีไม้สองไม้สาม (สอบข้อเขียนอย่าง เดียว)
- วิชาแลบเคมียากกว่า ทำแลบไม่ทันก็ เอาเกรด C ไป มีควิชก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง (โหด)
- ใครไม่เคยหลงทางในเกษตร "เชย"
- ที่นี่สอนตั้งแต่ อนุบาลจนถึงปริญญาเอก(อนุบาลของคณะศึกษา)
- ห้างที่อยู่ข้างๆ มอ คือ TOPS 555+
- บริหารและเสดสาดถูกวิดวะ ล้อมรอบ
- หนึ่งอาทิตย์ก่อนสอบเซเว่นจะขายดี เป็นพิเศษ
- แต่ก่อนเกษตรเคยมีเคเอฟซี (อิ อิ) ( KFC = Kasetsart Food Center )
- Or - Chemเป็นเคมีอีกตัวที่นรกมากๆๆ มีคนไม่จบเพราะตัวนี้มา เยอะแล้ว
- มีคนเรียกพระพิรุณทรงนาคว่า จิ๊กโก๋เหยียบไส้เดือน หรือถ้าจะให้ทันสมัยหน่อยก็จะเปน ซามูไร กระทืบหนอนชาเขียว
-ถ้าเด็กเกษตรหยุดกิน เหล้าเบียร์ โรงงานผลิตอาจจะเจ๊ง
- เด็กเกษตร เป็นเด็กที่มักได้เที่ยวป่าเขาฟรี (และได้รับการดูแลอย่างดี) เพราะมีรุ่นพี่เกษตรอยู่เยอะ
- เคยสงสัยมั้ย ว่าวันหนึ่งป้าเฉื่อยที่บาร์ใหม่ขายข้าวได้วันละกี่จาน
-เคยสังเกตุมั้ยว่าเจ้าของร้านขนมศร.1 แต่ ตัวเปรี้ยวมากๆ
(ไม่ใส่เสื้อในด้านไว้ล่อเด็กหนุ่มๆ อิ อิ)
-เป็นมหาลัยที่มีเด็กครบทั้ง76 จังหวัด
-ภูมิใจที่ได้เป็นลูกพระพิรุณในใต้ ร่มนนทรีแห่งนี้
เกษตร จงเจริญ * { K a s e t s a r t U n i v e r s i t y } *
ก่อนอื่นต้องขออภัย เนื่องจากมีคุณผู้อ่านได้มาแสดงความคิดเห็น และสอบถามแนวทางการแก้ปัญหา พอดีลืมดูในคอมเมนท์ ก็เลยถือโอกาสเอาคำถามมาเป็นประเด็นแหะ แหะ ง่ายๆคือสมองไม่บรรเจิดครับช่วงนี้ เอาล่ะ คือมีคำถามจากคุณเอกสิทธิ์เรื่องโรคผิวหนัง นะครับแนวทางการแก้ไขได้บอกไปแล้ว ในบทความเรื่อง ออกซี่เตตราไซคลิน ทีนี้เรามาคุยกันคร่าวๆเกี่ยวกับโรคผิวหนังในแพะ พอเป็นข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนนะครับ
โรคผิวหนังในแพะ ที่พบโดยทั่วไป ในแพะสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มคือ เชื้อรา ปรสิต ไวรัส และแบคทีเรีย
โรคเชื้อรา
พูดกันบ้านๆเลย คือโรคขี้กลากครับ พวกนี้มันจะเป็นมากๆในกรณีที่ความชื้นสูง ก็หน้าฝนบ้านเราน่ะแหละครับ และก็การมีคอกที่สกปรก เนื่องจากฝนตกหนัก คนงานขี้เกียจ เฉอะแฉะล้างยาก
ไอ้โรคขี้กลากเนื่ยมันสามารถเกิดได้แทบทั่วตัว คุณผู้ชายบางท่านน่าจะทราบดี(สังคังครับท่าน มันก็เกิดจากเชื้อรานี่แหละ ชอบเกิดตรงขาหนีบ นอกเรื่องอีกแล้ว อิอิ) ในแพะอาการที่พบจะเป็นลักษณะเด่นคือขนร่วง เป็นวงๆ ประมาณเหรียญห้าบาท สิบบาท จากนั้นก็อาจจะลามหากันขยายเป็นวงใหญ่ได้ ถ้าไม่มีการรักษา และโปรดอย่าลืมนะครับ ขี้กลากแพะติดคนนะครับ
การรักษาก็ง่ายๆ ครับ แต่ต้องอาศัยเวลาหน่อยบางทีอาจเป็นเดือน ก็ยาที่น่าใช้ก็ Clotrimazole หรือ ketoconazole ครีมทาบางทุกวัน ประมาณ 2อาทิตย์ ก่อนทาก็ใช้ เบตาดีนผสมกับสบู่เหลวขัดๆ ให้ขี้ไคลออกไปบางส่วนก่อนแล้วค่อยทาครีม หรือถ้าขี้เกียจมาก ก็นี่เลย ยาม่วงอาบหรือทา
แต่โรคขี้กลากเนี่ยหลักการทั่วไปมันจะไม่เกิดง่ายๆนักถ้าแพะสุขภาพสมบูรณ์ คือแพะมันจะมีภูมิของมันอยู่แล้ว ดังนั้นอาหารต้องคุณภาพดีนะครับ อาหารดี จัดการดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
โรคปรสิตภายนอก
เห็บ เหา ไร หนอน พวกนี้เป็นปรสิตอาศัยอยู่นอกร่างกายแพะ เห็บกับเหาทุกท่านอาจจะทราบดี เนื่องจากมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ไรบางท่านอาจจะไม่เคยเห็น มันเป็นสาเหตุให้เกิดขี้เรื้อนครับ ( 2ขี้แล้วนะครับ ขี้กลาก กับขี้เรื้อน) อาการที่พบก็เป็นสะเก็ด และมีอาการคันค่อนข้างรุนแรงบางตัวคันถึงเลือดเลย
การรักษาก็ง่ายมาก ไอเวอร์เม็คฉีดใต้หนัง อาทิตย์ละครั้ง 3ครั้งติดต่อกัน พร้อมกับมีการพ่นตัวแพะ ด้วยอะมิทราซ(ถ้าไม่มีอะมิทราซ อาจจะเป็นพวก ไซเปอร์เมทรินก็ได้) พ่นคอกด้วยนะครับ ส่วนพวกเหาและเห็บ มันจะตาย ถ้าตัวไหนเป็นหนักให้ฉีดยาปฏิชีวนะเช่นออกซี่เตตร้าไซคลินร่วมด้วย สมัยนี้ยาฆ่าแมลงพวกนี้มีประสิทธิภาพมากลองเลือกใช้ดูนะครับ ระวังเรื่องความเป็นพิษของมันด้วย เพราะแมลงมันยังตาย แล้วคนจะไปเหลืออะไร
โรคที่เกิดจากไวรัส
โรดปากเปื่อยหรือSoremouth เป็นคนละโรคกับFMD หรือโรคปากและเท้าเปื่อยนะครับ ไอ้โรคนี้เป็นโรคที่พบเฉพาะในแพะ สร้างความเสียหายได้มาก เพราะมันจะพบมากในแพะอนุบาล หรือบางครั้งโชคร้าย เกิดในแม่แพะที่กำลังรีดนม โดยจะเกิดมากในบริเวณเต้านม ส่วนลูกแพะจะเกิดที่มุมปาก และเพดานลิ้น ทำให้ดูดนมไม่ได้ ปากเจ็บ อัตราการตายสูงมาก เพราะแม่ที่เป็นก็จะเจ็บเต้านมไม่ยอมให้ลูกดูด
ลักษณะที่พบมันจะเป็นตุ่มๆ ใสๆก่อนแล้วค่อยแตกเป็นแดงเหมือนหูด ถ้าเป็นมากๆอาจจะลามเป็นก้อนใหญ่ๆได้ พอนานๆไปก็จะเป็นสะเก็ด หลุดออกแล้วเป็นใหม่ มีข่าวร้ายและก็ข่าวดี ครับข่าวดีคือ โรคนี้เป็นครั้งแรกในฝูงที่ไม่เคยเป็นเลย จะค่อนข้างรุนแรง แต่แพะสามารถ สร้างภูมิคุ้มกันด้วยตัวของมันเองได้ พูดง่ายๆคือเป็นแล้วจะไม่ค่อยเป็นอีก หรืออัตราการเป็นน้อยลง
แพะบางตัวอาจจะเป็นพาหะได้ แต่ที่แน่ๆ มันต้องมีการสูญเสียเป็นธรรมดา แนวทางป้องกันครับ แพะมาใหม่ควรแยกจากแพะเดิมก่อนแล้วค่อยดูอาการ ก่อนรวมฝูง การรักษาก็ง่ายครับ ยาม่วง พร้อมกับฉีดยาปฏิชีวนะ ร่วมด้วย หรืออาจจะเป็นครีมที่มียาปฏิชีวนะอะไรก็ได้ทาบางๆดูครับ วัคซีนป้องกันไม่มีขายในไทย แต่โดยส่วนตัวไม่แนะนำให้ใช้ครับ ลืมบอกอีกอย่างติดคนครับ ต้องใส่ถุงมือนะครับ
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
เกิดจากเชื้อ Staphylococci พูดง่ายๆก็ประมาณสิวนั่นแหละคับ เป็นตุ่มหนองตามผิวหนังทั่วไป การรักษาง่ายครับเพ็นนิซิลลินก็ใช้ได้แล้วครับ หรือให้ดีก็ ทาครีมทีมียาปฏิชีวนะก็ได้ครับ
หมายเหตุ โรคผิวหนังยังมีอีกเยอะครับ ที่พูดมานี่มันยังไม่หมดหรอก แต่เอาคร่าวๆไปรักษากันเองได้ครับ แล้วเจอกันใหม่อีก 2วันครับ
แพะพันธ์อะไรที่ดีที่สุดครับ
แพะแต่ละพันธ์ มีข้อดีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการผลผลิตของผู้เลี้ยงเองครับ เช่นถ้าต้องการนมก็ นี่เลย ราชินีแห่งแพะนม พันธ์ซาแนน ตามด้วยพันธ์แอลไพน์ และท็อกเกนเบิร์ก ถ้าต้องการแพะสารพัดประโยชน์ให้ทั้งนมและเนื้อก็ พันธ์นูเบียน (ปัจจุบันไม่ค่อยมี เนื่องจากผสมกับพันธ์แองโกลแล้วกลายเป็น พันธ์แองโกลนูเบียนที่เห็นๆกันนี่แหละครับ) ถ้าต้องการเนื้อก็ราชาแพะเนื้อ พันธ์บอร์ หรือแพะพันธ์ผสมอื่นๆ ถ้าต้องการขนก็ พันธ์แองโกล่า(บ้านเราไม่เคยมีใครนำเข้ามา)
ผมควรเลี้ยงแพะกี่ตัวดีครับ
ขึ้นอยู่กับพื้นที่หากินครับ ถ้าเลี้ยงแบบปล่อยก็6-10ตัวต่อแปลงพืชอาหารสัตว์ 1งาน หรือบางท่านอาจจะเลี้ยงมากกว่านั้นถ้ามีความสามารถหาอาหารให้แพะได้ตลอด สำหรับมือใหม่แนะนำแพะตัวเมีย20ตัว ตัวผู้1ตัวครับ ทั้งนี้ก่อนเลี้ยงต้องสำรวจพื้นที่อาหารสัตว์ที่เหมาะสมก่อนครับ ถึงจะตอบได้ว่าควรเลี้ยงแพะกี่ตัวดี
ควรให้อาหารแพะอย่างไรดี
การให้อาหารแพะขึ้นอยู่กับการให้ผลผลิตของแพะ เช่น แพะระยะให้นมควรให้อาหารหยาบคุณภาพสูง เช่นแพงโกล่า และเสริมอาหารข้นบ้าง แพะเนื้อควรให้กินอาหารหยาบคุณภาพพอประมาณ เสริมอาหารข้นบ้างเล็กน้อย โดยทั่วไปแพะจะกินอาหารประมาณ 2กก.(น้ำหนักแห้ง) ต่อน้ำหนักตัว 45กก.ต่อวัน ควรมีอาหารเสริมที่เป็นอาหารข้น และเสริมแร่ธาตุเข้าไปด้วยเช่น แร่ธาตุก้อนไว้ให้เลียกินตลอดเวลา น้ำสะอาดควรมีให้ตลอดเวลา ถ้าท่านเคยเลี้ยงวัวมาก่อนก็คิดง่ายๆเลยครับ แพะ6-7ตัว กินอาหารเท่ากับวัว1ตัว
โรงเรือนแพะควรทำแบบไหนดี
ยกสูงจากพื้น มีร่องให้ขี้มันตกลงไป ป้องกันลมได้ดี ระบายอากาศได้ดี มีพื้นที่ปล่อยแพะลงมาแทะเล็มได้ ถ้าเป็นแพะนมควรมีโรงเรือนสำหรับรีดนมต่างหาก จากคอกเลี้ยง และควรมีคอกอนุบาลแพะด้วย ส่วนแพะเนื้อควรมีคอกแม่เลี้ยงลูกแยกต่างหาก
แพะให้ลูกกี่ตัว
แพะสามารถให้ลูกแพะ1-5ตัว ต่อการตั้งท้อง 1ครั้ง การให้ลูกแฝดจะพบค่อนข้างบ่อย 3-5 ตัวพบน้อยครั้งมาก โดยทั่วไป จะเป็น 1-2ตัว
แพะท้องกี่เดือน
5เดือน หรือประมาณ 146-155 วัน
ควรผสมพันธ์แพะสาวเมื่อใด
ดีที่สุดคือ 1ปี ถ้าผสมอายุน้อยกว่านั้นแพะอาจจะแกร็น และคลอดยาก หรืออาจจะผสมเมื่อน้ำหนักได้ 60-75% ของน้ำหนักกตัวเต็มวัย
ควรหย่านมลูกแพะเมื่อใด
ประมาณลูกแพะอายุได้ 3เดือนเพื่อให้แม่แพะได้สะสมน้ำหนักตัวในท้องหน้า เพราะถ้าแม่แพะผอมมากเกินไป แม่แพะจะมีนมน้อยและมีผลทำให้ลูกครอกหน้าอ่อนแอ
ควรตอนและสุญเขาเมื่อใด
เวลาที่ดีที่สุดคือ เมื่อแพะอยุได้ 7-10วัน ข้อควรระวังคืออาจทำให้แพะเครียดได้ การสุญเขาควรใช้ที่จี้ไฟฟ้า การตอนอาจจะผ่าเหมือนหมู หรือใช้ยางรัดก็ได้
โรคอะไรที่เกิดกับแพะโตมากที่สุด
โรคอันเนื่องมาจากเชื้อคลอสทริเดียม เช่น บาดทะยัก อาหารเป็นพิษ โรคปากเปื่อย หรือซอร์เม้าท์ โรคพยาธิเม็ดเลือด โรคท้องเสียเนื่องจากคอคซิเดีย โรคข้ออักเสบ โรคพาราทีบี โรคปอดอันเนื่องมาจากเชื้อพาสเจอร์เรลล่า วัคซีนที่ป้องกันมีแค่ อาหารเป็นพิษและบาดทะยัก แต่ยังไม่มีขายในเมืองไทย
โรคอะไรที่เกิดกับลูกแพะมากที่สุด
ลูกแพะที่สำคัญที่สุดคือ การได้กินนมน้ำเหลือง ภายใน 12 ชม.หลังจากคลอด เพื่อได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ เพราะหลังจาก 12ชม.ไปแล้วความสามารถในการดูดซึมนมน้ำเหลืองของลูกแพะ จะลดลง หลังจาก 12ชม.ผ่านไปควรมีการจุ่มสายสะดือด้วยทิงเจอร์ไอโอดีนเพื่อป้องกันสะดืออักเสบ ปัญหาที่พบมากที่สุดในลูกแพะคือ ท้องเสีย ถ้าขี้เป็นสีเขียว อาจจะกินพืชที่เป็นพิษ ถ้าขี้เป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลเหลว แสดงว่าท้องเสีย ถ้าขี้เป็นสีดำแสดงว่าเป็นค็อคซิเดีย
ต้นไม้อะไรที่เป็นพิษกับแพะ
ใบมันสำปะหลัง มันสำปะหลังสด
สวัสดีครับ หายหน้าไปหลายวันพอดีกลับบ้านนอกมาครับพึงกลับมาถึง เลยไม่ค่อยได้อัพเดทบล็อกเท่าไหร่ วันนี้เรามาคุยกันเบาๆอีกครั้ง เอาเป็นว่าผมมีคำถามหลายท่านๆท่านที่เลี้ยงแพะ ว่า แพะป่วยท่านจะฉีดยาตัวไหน เรียกหมอมารักษา บางท่านก็หมอแอมมอกซี่ บางท่านก็หมอเพนสเตร็บ (คือประมาณว่าเอะอะอะไรข้าก็ฉีดยาตัวนี้ยันเต) ไม่ว่าแพะท่านอาการอะไร ปวดหัวตัวร้อน ท้องอืด จุกเสียดฯลฯ เนื่องจากยาพวกนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์กว้าง รักษาได้หลายโรค
วันนี้ผมมียาแนะนำมาอีกตัวครอบจักรวาลสุดๆ เรียกว่าท่านควรมีไว้เป็นยาสามัญประจำฟาร์ม ก็ได้ ยาตัวนั้นคือ ยาที่ขึ้นตามหัวเรื่องหนะแหละครับ ออกซี่เตร้าไซคลิน หรือ OYTERACYCLINE ในภาษาปะกิด อียาตัวนี้มีมานานมากแล้ว ถ้าจำไม่ผิดในคนที่ใช้กัน น่าจะพวก ฮีโร่มัยซินที่ ชอบโฆษณาทางวิทยุเอเอ็ม มีทั้งในรูปแบบกิน หรือฉีด ถ้าเป็นแบบกินจะมีอีกรูปแบบนึงคือดอกซี่ไซคลิน (DOXYCYCLINE) แต่ในระบบฟาร์มการให้แบบกินคงจะค่อนข้างลำบาก ก็เลยไม่ขอกล่าวถึงตัวนี้นะครับ
เอาหละผมจะเล่าถึงสรรพคุณ ของยาตัวนี้นะครับ ยาตัวนี้เป็นยาในกลุ่ม เตตร้าไซคลิน รู้สึกว่าจะเกิดขึ้นจากการผลิตสีที่ผิดพลาดยังไงนี่แหละ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ ท่านผู้รู้กรุณาติดต่อมาได้นะครับ จุดเด่นของมันคือ เด่นในการฆ่าพยาธิในเม็ดเลือดโดยเฉพาะพวกที่ชอบเกาะตามผิวนอกของเม็ดเลือดแดง เช่น อนาพลาสมา และยิ่งเด่นมากในเชื้อแบคทีเรียพวกพวกพาสเจอเรลลา เชื้อคลามัยเดีย และอื่นอีกมากมายจะไม่ขอกล่าวถึง (เพราะจำไม่ได้ อิอิ) ในอดีตใช้เป็นยารักษาวัณโรคในคน ทีนี ทำไมผมถึงกล่าวถึงเชื้อพวกนี้ เอาหละมันมีเหตุผล ผมมีคำถามท่านเจ้าของแพะดังนี้
- ท่านเคยเจอแพะ ที่มีเยื่อบุตาซีดๆบ้างหรือไม่
- ท่านเคยเดินดูแพะตอนเช้ามืดแล้วเห็นแพะไอโขลกๆ กระแทกๆบ้างหรือไม่
- ท่านเคยเห็นแพะตาแดงๆบ้างหรือไม่
- แพะของท่านเลี้ยงในพื้นที่ที่มีเหลือบ ริ้น ไร เห็บ เหา และเคยเจอไอ้พวกนี้ในแพะของท่านบ้างหรือไม่
- โรคพยาธิเม็ดเลือด ถ้าแพะท่านซีดๆ และมีเหลือบเยอะๆ เห็บเยอะๆ เหาเยอะๆนี่ อนุมานได้ว่าท่านมีแพะที่เป็นโรคนี้แน่นอนแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ แล้วแพะของท่านจะอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงโรคอื่นๆจะตามมา โรคนี้เกิดจากเชื้อ อนาพลาสมา
- โรคปอด ที่เกิดจากเชื้อพาสเจอเรลลา ซึ่งเชื้อพวกนี้จะพบอยู่แล้วในทางเดินหายใจ อาศัยเป็นปกติ วันดีคืนร้ายพวกก็จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันแพะมันลดลง แล้วกลายเป็นเชื้อร้าย กลายเป็นแพะปอดบวม ตายได้ง่ายมาก บางตัวป่วยตอนเย็นตายตอนเช้าเลยก็มีบางตัวดีหน่อยกลางวันไม่แสดงอาการ แต่จะไอตอนกลางดึกหรือเช้ามืด
- โรคตาแดง ในแพะที่รวมฝูงมากๆเมื่อมีขี้เยี่ยวมากๆ ก็ย่อมมีแอมโมเนียมาก ซึ่งแอมโมเนียเป็นก๊าซที่ค่อนข้างระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้ตาติดเชื้อได้ง่าย ก็เป็นโรคตาแดงส่วนมากจะเป็นเชื้อคลามัยเดีย
เมื่อมีผู้ร้าย แล้วเราก็มีพระเอกมาช่วยครับ นั่นก็คือออกซี่เตร้าไซคลิน ซึ่งมันตอบได้เกือบทุกประเด็นแถมยังป้องกันโรคอื่นๆได้อีกด้วย ทั้งนี้ผมอยากให้เลือกใช้ยาตัวนี้ในการมุ่งประเด็นพยาธิเม็ดเลือดมากกว่า เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้ภูมิคุ้มกันแพะลดลงแล้วเชื้อแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นเมื่อเห็นแพะแสดงอาการตังกล่าวมาแล้วความเห็นส่วนตัวน่าจะเลือกใช้ยาตัวนี้ก่อน เหมือนหว่านแห แต่ก็ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ในกรณีที่มีหมอมารักษาที่ฟาร์ม แนะนำให้ท่านเลือกใช้ยาตามหมอสั่งจะดีกว่า อย่าเถียงหมอนะครับ เพราะหมอเขาเห็นด้วยตามันอาจจะวินิจฉัยได้แม่นยำกว่า อีกอย่างนึงที่อยากแนะนำยาตัวนี้เนื่องจากเราสามารถกำหนดเป็นโปรแกรมป้องกันได้ เพราะเราก็รู้อยู่แล้วว่าโรคพวกนี้มักเกิดในช่วงเปลี่ยนอากาศโดยเฉพาะฤดูฝน เมื่ออากาศเราคุมไม่ได้ แมลงเราคุมไม่ได้ เราก็ต้องมาอยู่ด้วยกันกับโรคอย่างสันติ ที่ผมแนะนำคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอากาศอย่างรุนแรงแนะนำให้ใช้ออกซี่เตตราไซคลิน ร่วมกับเบเรนิล ลงอาทิตย์ละครั้ง 2ครั้งติดกัน หรืออาจจะฉีดออกซี่เตตราไซคลิน 2ครั้งเบเรนิล 1ครั้ง ทำอาทิตย์ละครั้งก็ได้ โดสยาที่ใช้ ก็ตามโดสข้างกล่อง หรือสงสัยให้สอบถามสัตวแพทย์ใกล้บ้านท่าน
โดยส่วนตัวยายี่ห้อที่ใช้ประจำและให้ผลดีคือ เทอรามัยซิน 200 แอล เอ ของบ.ไฟเซอร์ เพราะยาไม่หนืดมากฉีดง่าย แถมเปิดขวดแล้วยาไม่ค่อยเปลี่ยนสีง่าย แต่ราคาค่อนข้างแพง อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่ายาตัวอื่นไม่ดีใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้ แต่ขอแนะนำให้ใช้พวก แอล เอ (ย่อมาจากคำว่า ลอง แอคติ้ง)ออกฤทธิ์ประมาณ 2-3วัน อย่างไรก็ตามยังขอย้ำอีกว่าการเลือกใช้ยาควรอยู่ในดุลยพินิจของสัตวแพทย์นะครับ ถ้าจำเป็นและไม่มีสัตวแพทย์อยู่ ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างกล่องอย่างเคร่งครัด แล้วเราจะอยู่กับโรคโดยสันติสุข เพิ่มผลผลิต และผลกำไร
วันนี้หัวมึนๆยังไงไม่รู้ เห็นข้อความจากเว็ปบอร์ดอ่านแล้วนึกถึงความหลังดี เรื่องแพะตอนนี้ยังหาเรื่องเด็ดไม่ได้ครับติดเอาไว้ก่อนไว้ อีก3 วันค่อยเจอกันครับ ลองอ่านดูแล้วนึกถึงความหลังกันบ้าง อ่านแล้วคุณจะอมยิ้ม มีความสุข สาหรับคนที่เกิดปี2510-2525 หรือคนที่แก่แล้วนั่นเอง อิอิ
1.คุณเป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้เล่น มอญซ่อนผ้า กระโดดยาง รีรีข้าวสาร เป่ากบฯลฯ โดยไม่ต้องไปหาดูตามงานวัด หรือ งานแสดงศิลปะ วัฒนธรรม
2.คุณเกิดมาร้องเพลงขอมอบดอกไม้ในสวนได้ทัน ในยุคที่พี่แจ้ นกแลนิธิทัศน์ยัง ดังและเมื่อโตขึ้น คุณก็ยังไม่แก่เกินไปที่จะฟังดีทูบี
3.คุณได้เห็นคาราบาวยุคก่อนประวัติศ่าสตร์ เฟื่องฟู และเสื่อมถอย
4.คุณได้เห็น ก็อต จักรพันธ์ (คนเดียวกับเจ้าชายลูกทุ่ง) ยังร้องเพลงสตริงวัยรุ่น และคณะวงดนตรีชื่อดังอย่าง แอ๊ด เทวดา
5.คุณเกิดมาทันพอดีในยุคที่รองเท้าและถุงเท้านักเรียนแลกซื้อของเล่น(หลอก เด็ก) และหลังจากหมดยุคคุณมันก็ไม่ทำมาหลอกเด็กอีกเลย
6.คุณโชคดีที่เกิดมาทันในยุคที่เมืองไทยมีดาราเด็กชื่อดังอย่างน้องตูมตาม เพราะสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความน่ารักของน้องพลับตอนนี้ได้
7. คุณโตมาพร้อมกับโงกุน ดราก้อนบอล มันออกฉายทีวีครั้งแรกปี 2529-2538 หนังสือการ์ตูนอัพเดททุกสัปดาห์มีพิมพ์ทุกสำนักไม่มีการดองเพราะยังไม่มีลิขสิทธ์ อ่านแล้วไปดูช่อง9อีกยังมันส์ ถามเด็กผู้ชายยุคนั้นไม่มีใครไม่รู้จักพลังคลื่นเต่า กินเวลา10กว่าปีถึงจะจบ (แต่เด็กรุ่นใหม่ใช้เวลาอ่านแค่วันเดียว)
8.สุดยอดแห่งการ์ตูนก็มีในยุคนี้ เช่น เซ็นต์เซย่า เจ็ทแมน จีบัน เกียบันชาลีบัน ซึบาสะ นายมดแดง อุลตร้าแมน เซเลอร์มูนรันม่า1/2 ฯลฯ มันก็เข้ามาฉายตอนเราอยู่อนุบาล -ประถมแล้วพอขึ้นชั้นมัธยมมันก็ค่อยๆหายไป
9.คุณเกิดมาทันพอดี กับช่วงเกมกด วีดีโอเกม คอนตร้า มาริโอพอโตขึ้นก็ยังไม่แก่เกินไปที่จะเล่น play station และ ทามาก๊อดจิขึ้นๆลงๆซ้ายขวาเอบีซีเลค สตารท์ สูตรสามสิบตัวเลย คอนทร้า มาริโอ่ก็เก็บเห็ดอย่างเดี่ยว ส่วนPlay Station ก็วินนิ่งเลย
10.ในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น คุณก็โตมาพร้อมกับอาร์เอสยุคที่นักร้องอายุไล่เลี่ยกับคุณ ออกเทปกันให้ควั่ก และคุณยังได้เห็นตำนานร็อคหรั่งหินเหล็กไฟ เสือ อิทธิ ไฮร็อค ล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา หลังการเข้ามาของเต๋า ทัช บอยเก๊าท์ แก๊งใจง่าย หลังจากนั้นก็เป็นยุคทองของอาร์เอสโดยแท้จริง แต่นั่นมันอดีต ยุคนี้เขาห้ามเอาของเกี่ยวกับอาร์เอสเข้าบ้าน
11.หนังไทยก็ทำมาตามวัยของคุณ แล้วมันก็มีเยอะจริงๆอนึ่งคิดถึงฯ น้ำเต้าหู้กับครูระเบียบ ปีหนึ่งเพื่อนกัน กระโปรงบานขาสั้น โลกทั้งใบ เด็กเสเพล พอคุณโตเข้าหน่อยก็มีหนังอย่าง โอเนกาทีฟ จักรยานสีแดง แล้วที่ทำมาโดนใจคนยุคนี้จริงๆ อย่างหนังระลึกชาติ แฟนฉัน
12.คุณได้ซึมซับอารมณ์และบรรยากาศของการเข้าฉายครั้งแรกของสุดยอดหนังตื่นตา ตื่นใจในยุคนั้นอย่าง terminater2 Jurassic park speed-เร็วกว่านรก (ภาคหลังอย่าได้พูด)
13.รองเท้าแตะในตำนานอย่าง Scholl (สกอลล์) ก็มาฮิตที่สุดในยุคคุณนี่แหละใส่กันทั่วบ้านทั่วเมือง( ร้อยละ 70 ของเด็กวัยรุ่นในยุคนั้นโดนขโมยแต๊บมาแล้ว)
14.คุณเกิดมาทัน ได้ดูลิเวอร์พูลยุคล่าอาณานิคมยุค’80และตกเป็นเมืองขึ้นยุค’90 จนถึงปัจจุบัน
15.ตอนมัธยมสิ่งที่ทำให้คุณบ้าบาสเกตบอลเพราะชิคาโก้บูล ร็อตแมน โอนีล พิพเพน จอร์แดน และการ์ตูนแสลมดังค์ไม่ได้บ้าเพราะอยากโชว์สาว
16. มีหมากฝรั่งบุหรี่ด้วย อิอิ กินแล้วโดนดุประจำ
17. เรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
18. ดูดาวพระศุกร์ .. สายโลหิต เวอร์ชั่น ศรราม สุวนันท์
19. 10ปีที่แล้วเจ้าขุนทองเป็นยังไง 10ปีให้หลังเจ้าขุนทองก็ยังอยู่มันไม่แก่ขึ้นเลยว่ะ
20. คุณได้เห็นยุคที่นักฟุตบอลไทยยังเป็น Dream Team จนปัจจุบันกลายเป็นฝันค้าง
21. 3 หนุ่ม 3 มุม --กบ แท่ง มอส
22.packlink, 1145 ใช้ส่งข้อความ เป็นไรที่ วัยรุ่น hit hot มากค่ะ
23.ยุคเฟื่องฟูสุดขีด ของ วง Micro อารมณ์ "ขอมือ ขวา หน่อยคร๊าบ"
24.มุข นายก ชวน ยัง เล่นได้เสมอ "เอ่อ ผมคิดว่า.... ในกรณีนี้เรายังไม่ควรรีบด่วน......ตัดสินใจ ควรจา... ยืดวาระ ในการ พิณาาาาา........ ออกไป ซัก10ชาติก่อน "
25.แผ่นซีดี ยังราคา 250 บาท... ทั้ง Grammy และ RS
26.เจ้าพ่อ เซี่ยงไฮ้.... ฉายแล้วฉายอีก.. ไม่รู้ ทำไม เจ้าพ่อมันออกลูกดก เหลือเกิน... ดนตรีเปิดตัว มาพร้อมกับ ท่า เดินอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อม ชุดสูท สวมหมวก...เท่จริงๆ...
27.หนังจีน... เล่นไพ่ โคตรสารพัด เทคนิค ในการโกง... คนตัดคน ภาค 1 2 3 พระเอกต้องโง่ก่อน แล้วมาเก่งสุดๆ... ได้อาจารย์ ที่เก่งกว่า ตัวโกง..แต่ถูกโกงแล้วมาถ่ายทอดฝีมือ โคตรเซียน ให้ลูกศิษย์
28.หนังจีนทุกเรื่อง มีประโยคฮิต "ใครฆ่าท่านพ่อ ..ท่านแม่..อาจารย์""แก้แค้น 10 ปีไม่สาย" "บุญคุณต้องทดแทนความแค้นต้องชำระ" -ข้าน้อยมีตา หามีแววไม่.. -ข้าน้อย สมควรตาย.. ก่อนตาย เพื่อนพระเอก พระเอก หรือนางเอกจะต้อง... โอ้ว..(หายใจไม่ออก) ใกล้ตายเต็มทน แต่ยัง ยืดเยื้อไปได้อีกหลายซีน... -ยุคนั้น... บูมมาก สำหรับ "ดาบมังกรหยก" "ศรราม เล่นเรื่อง " เหินฟ้า" ตะวันชิงพลบ , เบิร์ด ยัง โฆษณา ฟิล์ม โกดัก โหว่ โว โวเย๊...... (ท่อนหลัง เข้าใจว่าเป็น ภาษา อารบิก ฟังไม่รู้เรื่อง)
29.ทำบัตรประชาชน มีออกใบเหลือง อีกสามเดือน มารับ.... รูปที่ได้มาติด บัตร... แมร่ง..ใช่กูเหรอวะ
30.ไม่มีรายการ "ถึงลูก ถึงคน" เจอแต่ รวมดาวสาวสยาม "มาตามนัด" "ฝันที่เป็นจริง" ตาวิเศษ เห็นนะ สัมผัสที่6 รักลูกให้ถูกทาง (ทุกวันนี้ก็ยังอยู่) ฯลฯ
31.เขาทราย ดิ..... เก่งที่สุด..ดูต่อยมวยทีไร ชนะทุกที...
32. เราได้ดูมังกรหยกทุกภาคทุกเวอร์ชั่นทั้งจอแก้วและจอเงิน
33. เราได้กินไอติมแท่งตราจรวดแถวบ้าน นอกจากนั้นยังได้กินไอติมถั่วดำเผือก ตราหมีแพนด้าด้วย
34. เราได้เรียนรู้พร้อมกับมานี มานะ ปิติ วีระ เพชร ชูใจ จันทรฯลฯ เจ้าแก่ สีเทา ด้วย
35. เราได้ดูอิคคิวซังตั้งแต่เด็กยันโต ทำไรต้องนั่งมาทิ ใช้หมองก่อนปิ๊ง
36. เราทันอ่านศรีธนญชัยกับความเจ้าเล่ห์แกมโกงของเขา
37. เราได้ดูหนังจักรๆวงศ์ๆทั้งช่อง ๓ จ. ถึงศ. และช่อง 7 ส./อ. ขวานฟ้าหน้าดำ หอยสังข์ แก้วหน้าม้า สุดยอด
38. เราได้ดูขวัญ เรียม บ้านทรายทอง (วอร์ชั่นที่คุณ มลฤดีเล่นเป็นนางเอก) แหวนทองเหลือง มนต์รักอสุร ผยอง ฯลฯ ที่ทำซ้ำไปซ้ำมา
39. เราเล่นgame boysตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก จนปัจจุบันอันเล็ก
สวัสดีครับ 3-4วันมานี้ผมได้ลงไปทำงานที่ประจวบครับ ก็เรื่องเกี่ยวกับแพะนั่นแหละคือมีพรรคพวกด้วยกันวานให้ลงไปเจาะเลือดแยกซีรั่มเพื่อขอใบอนุญาตส่งแพะลงใต้ ก็โรคเดิมๆนั่นแหละครับ บรูเซลโลซิสเพราะว่าสัตวบาลพึ่งลาออกไป ไม่มีคนเจาะผมเลยลงไปช่วย
แต่ไหนๆก็เจาะแล้ว ผมเลยเสนอว่าเดี๋ยวตรวจคร่าวๆให้ก่อน ก็วิธีการเดียวกับกรมปศุสัตว์นั่นแหละครับ Rose Bengal test โดยมีความหวังเล็กๆในการทำเป็นฟาร์มปลอดโรคบรูเซลโลซิส
สมัยนี้การเลี้ยงแบบปล่อยเทวดาเลี้ยงก็ดูเป็นวิธีการที่ได้กำไรดีเนื่องจากลงทุนต่ำ แต่มันก็เหมือนระเบิดเวลาที่รอระเบิดเข้าสักวัน ผมว่าถ้าอยากเลี้ยงในแนวทางอุตสาหกรรมต้องทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มาก และต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำอยู่ว่ามันได้ผลจริงๆ เพราะปัจจุบันคงยังไม่มีใครรู้เรื่องแพะแบบลึกซึ้งจริง เพราะเกษตรกร ก็รู้เฉพาะการเลี้ยง นักวิชาการก็รู้เฉพาะทฤษฎีมันยังหาจุดร่วมกันแบบไม่ลงตัวนัก
หน้าฝนนี้เป็นยังไงบ้างครับพี่น้องแพะ รู้สึกยินดีมากครับ เขียนบล็อกครั้งแรก เจ้าพ่อแพะออนไลน์ คุณโกร่งแห่งชุมทางแพะ ก็มาคอมเมนต์แล้ว ขอบคุณด้วยความชื่นชม วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเบาๆที่เราๆทุกท่านคงทราบกันดี ว่าตอนนี้จะเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าวันใหน ปีนี้หวังว่าพี่น้องมุสลิมคงมีกำลังซื้อสูงๆเช่นเคยนะครับ แต่ก่อนอื่นปัญหาของเราก็คือเราจะเอาไปส่งให้พี่น้องมุสลิมที่อยู่ทางใต้ยังไงดี
อันดับแรกปัญหาของเราคือการเคลื่อนย้าย สาเหตุที่ทำการเคลื่อนย้ายลงใต้ลำบากคือ
1.ตั้งแต่ จังหวัดชุมพรลงไปจงถึง 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครม.ปีไหนไม่รู้จำไม้ได้ ระบุว่าเป็นเขตปลอดโรคระบาด เฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย ใน โค กระบือ แพะ แกะ สุกร (สัตว์กีบคู่ทั้งหมดเพราะโรคปากและเท้าเปื่อยเกิดในสัตว์กลุ่มนี้) เพราะฉะนั้นหลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้ใดที่มีความประสงค์จะเคลื่อนย้ายสัตว์ดังกล่าวเข้าเขตปลอดโรค ภายในเขตปลอดโรค(ข้ามจังหวัด ในจังหวัด) ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี (หรือใบ ร.4 นั่นเอง) ถ้าไม่มีใบเคลื่อนย้าย โดนจับครับพี่น้อง
2.ตั้งแต่เกิดโรคบรูเซลโลซิสขึ้นมา (แต่เดิมเรียกแท้งติดต่อ แต่ในแพะบางตัวไม่แท้งแต่เป็นโรค เพื่อลดความสับสนจึงเรียกทับศัพท์แทน) หลวงท่านไม่ได้ประกาศว่าภาคใต้เป็นเขตปลอดโรคบรูเซลโลซิสนะครับ แต่ทำไมทางปศุสัตว์ถึงต้องบังคับให้ตรวจโรคด้วย จริงๆแล้วท่านสั่งให้ทางจังหวัดเข้มงวดการออกใบ ร.4 ถ้าไม่มีผลเลือดก็ไม่ออกใบ ร.4ให้ ซึ่งผลเลือดนั้นๆต้องเป็นผลมาจากศูนย์ชันสูตร หรือสถาบันสุขภาพสัตว์เท่านั้น (ของหน่วยงานอื่นๆไม่รับ เช่น มหาลัยของรัฐ ) ดังนั้นไม่มีผลเลือดไม่ออก ร.4 ไม่มีร.4 ก็เคลื่อนย้ายไม่ได้ ไม่ว่า ในจังหวัดตัวเอง ไปจังหวัดอื่น หรือลงใต้
เห็นปัญหายังครับ แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะถึงลงใต้ได้ อันดับแรกมาดูก่อนเลย ประเด็นโรคปากและเท้าเปื่อย
1.ท่านต้องกักกันสัตว์ของท่านก่อนเข้าเขตปลอดโรคอย่างน้อย 21 วัน คำถามต่อมาเราจะกักกันที่ไหนดี มี2 ทางคือส่งไปกักที่ศูนย์กักสัตว์ ของกรมปศุสัตว์ ที่เพชรบุรี ทางที่ 2เข้าศุนย์กักสัตว์เอกชน (หรือฟาร์มของท่านนั่นเอง) แต่มีเงื่อนไขที่ว่าฟาร์มของท่านต้องผ่านการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซึงใบรับรองดังกล่าว มีอายุ 90วัน หรือทำแบบมาตรฐานสุดๆก็ได้ 1ปีไปเลย รายละเอียดลองไปติดต่อปศุสัตว์ในท้องที่ของท่านนะครับ
2.แพะของท่านต้องผ่านการฉีดวัคซีน ปากและเท้าเปื่อย อันนี้คงไม่ยาก
จากความเห็นส่วนตัวของผม แนะนำให้ท่านทำคอกกักเอกชนครับ (ดูแลแพะตัวเองดีกว่าจ้างคนอื่น)เลือกประเภทคอกกักกันสัตว์ก่อนเข้าเขตปลอดโรค เมื่อได้ใบรับรองคอกกักมาแล้ว90วัน ท่านก็เริ่มรวบรวมแพะ ติดต่อคนซื้อแถวๆภาคใต้ในเดือนแรก พอครบตามออร์เดอร์เดือนที่2ก็เริ่มทำวัคซีน ติดเบอร์หู(ขั้นตอนนี้ติดต่อด่านกักกันสัตว์ใกล้บ้านท่าน หรือปศุสัตว์อำเภอ) ครบ21วันก็ยื่นเรื่องขอ ร.4อีกครั้งพร้อมทั้งแนบรายละเอียดการทำวัคซีน (หรือเอกสารอื่นๆที่หลวงท่านร้องขอ)
อ่าเรียบร้อยสำหรับปากเท้าเปื่อย ที่นี้เรามาคุยกันประเด็นที่ 2 โรคบรูเซลโลซิส งานนี้เราต้องช่วยตัวเองเป็นหลักครับ ทำควบคู่กันกับโรคปากและเท้าเปื่อย เมื่อรวบรวมแพะครบแล้วอันดับแรกติดเบอร์หูก่อนเลย เจาะเลือด แยกซีรั่ม ตรวจเอง ทำยังไงก็ได้ให้แพะทั้งฝูงปลอดโรค โดยแพะที่ตรวจแล้วบวกทำลาย แพะที่ลบเก็บไว้ก่อน อีก 14วันถัดมาตรวจซ้ำอีกที่ แล้วแพะเราก็ปลอดโรค(หรือเปล่า) 15วันก่อนเคลื่อนย้ายตรวจอีกที คราวนี้ล่ะเอาเลือดชุดนี้ส่งศูนย์ชันสูตรครับ แล้วก็รอผล ได้ผลมาก็ส่งเรื่องพร้อมโรคปากเท้าเปื่อยครับ เท่านี้เราก็ได้ ร.4 มาอย่างง่ายดาย (หรือเปล่า?)
ยังยังไม่พอ เรามีวิธีง่ายกว่านั้น(ถ้าท่านคิดจะผลิตแบบครบวงจรคือมีแพะตัวผู้น้ำหนัก18-20 กก.เป็นผลผลิตออกมาเดือนละ 100-200ตัว โดยไม่ต้องซื้อมาจากที่อื่น) ทำเป็นฟาร์มปลอดบรูเซลโลซิส เอาผลจากข้างผลนั่นแหละมาขยายผลต่อ ผลิดแพะปลอดโรคขาย ให้คนอื่นซื้อไปทำฟาร์มปลอดโรคต่อไป แล้วรวมกลุ่มกันทำเป็นคอกกัก ทีนี้ล่ะพ่อค้ามันต้องวิ่งมาหาเราแล้ว หรือไม่งั้นวิ่งเองเลยไม่ต้องง้อมัน สาเหตุที่ต้องทำฟาร์มปลอดโรคเนื่องจากถ้าท่านได้รับรองปลอดโรคแล้วท่านไม่ต้องตรวจโรคก่อนเคลื่อนย้าย ทำวัคซีน กัก 21วันออกได้เลย รายชื่อฟาร์มแพะปลอดโรค
เห็นมั้ยครับ ส่วนนี้คือส่วนต่างของราคาแพะที่พ่อค้ามันต้องมากดราคาพวกเราไหนจะค่าขนส่ง ค่าดำเนินการในการกัก ค่าอื่นๆ จิปาถะ ผมว่าถ้าในแต่ละพื้นที่รวมกลุ่มกันทำให้เป็นระบบ วงการแพะคงเจริญกว่านี้
สวัสดีอีกครั้งครับ จากการเขียนบล็อกมานานพอควร ประมาณ 2อาทิตย์ ผมก็พบว่าผมได้ตังค์จากกูเกิลแล้วครับ 0.01ดอลลาร์ จากการเข้าชมบล็อกประมาณ 945 ครั้ง แหมถือว่าไม่เลวเลยแฮะ ผมต้องรอได้ตังค์ให้ครบ 100 ดอลลาร์กูเกิลมันถึงจะส่งเงินมาให้ คงอีกนานมาก แต่เงินเล็กน้อยแค่นี้ก็คงพอเป็นกำลังใจให้บ้าง ฮึดเขียนข้อความ บอกตามตรงวันนี้ขี้เกียจมากเลยแต่สัญญาไว้ว่าจะเขียนบทความมาใหม่เลยตั้งใจว่าจะเขียนสั้นๆ แต่เผอิญ ดูADSENSEแล้วพอมีแรงขึ้นมาบ้าง
สำหรับท่านที่สนใจอยากทำแอดเซนส์บ้าง ผมมีความรู้น้อยครับ ลองแวะไปอ่านที่www.keng.comนะครับมีคนรู้เยอะกว่าผมมากมาย หรือไม่ก็ลองสมัครดูตามลิงค์ที่ผมทำไว้ ขวามืออันแรกครับที่มีคำว่าAdsense นั่นแหละครับเห็นเขาว่าใกล้รองรับภาษาไทยแล้ว ลองสมัครดูแล้วกันฟรีครับ หรืออาจจะไปซื้อหนังสือก็ได้ครับที่ซีเอ็ดมีขาย
วันนี้ผมมีเรื่องข้อเท็จจริงที่ผมแปลมาจากหนังสือภาษาอังกฤษ อ่านแล้วมันเป็นข้อมูลสั้นๆ ง่ายๆสำหรับมือใหม่ เพราะราคาแพะช่วงนี้กำลังค่อนข้างดี กับโบนัสปลายปี พร้อมทั้งเงินปันผลต่างๆ และหลายๆท่านก็อาจจะเกษียณ เป็นปัจจัยให้ท่านสนใจมาประกอบมาประกอบอาชีพปศุสัตว์ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นมารีวิวให้ทราบ หลายๆท่านอาจจะทราบแล้วก็ถือว่าเป็นการทบทวนสมองก็แล้วกันครับ
หัวใจการผลิตสัตว์ทุกชนิดคือการมีลูกสัตว์เกิดขึ้นในฟาร์ม ดังนั้นเพื่อให้ได้ลูกเราต้องมีการผสมพันธุ์(แพะนะครับไม่ใช่คน) เราต้องรู้ว่าแพะควรผสมเมื่อไหร่ แต่อย่างว่าแหละครับเรื่องผสมพันธุ์แพะเนี่ยใครมันจะรู้ดีไปกว่าแพะหละครับ แต่เราคนเลี้ยงจำเป็นต้องรู้เพื่อวางแผนการผลิต เตรียมยา เตรียมอาหาร ที่สำคัญมันเหมาะสำหรับท่านในการนำไปวางแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ รอบหน้าถ้าว่างๆผมจะเขียนเป็นแผนธุรกิจสำหรับการขอหนี้สินกันดีกว่าถ้าจะดีสำหรับผู้สนใจ
แต่อย่าลืมนะครับสุภาษิต คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า ต้องดูข้อมูลเยอะๆศึกษาให้รอบด้าน เผื่อเจ๊งขึ้นมาจะได้เจ๊งแบบมีคุณค่า(อิ อิ) แต่80%ถ้าศึกษาและมองการณ์ไกลโอกาสพลาดน้อยครับ อีก20%เผื่อไว้เป็นไปตามดวงครับ
ข้อเท็จจริงและสิ่งควรรู้ระบบสืบพันธุ์ ของแพะ
ตัวเมีย
- อายุเข้าวัยเจริญพันธุ์ 7-10เดือน หรือน้ำหนักประมาณ 60-75%ของน้ำหนักตัวแพะเต็มวัย บ้านเราน่าจะมีน้ำหนักประมาณ 25-30 กก.ดังนั้นในการเลือกซื้อแพะมาเพาะพันธ์ใหม่ควรเลือกแพะที่มีน้ำหนักประมาณ 20กก.อายุประมาณ 10เดือน
- ระยะแสดงอาการเป็นสัด 1รอบคือ18-22วัน อาการที่แสดงชัดๆคือร้องโวยวาย หางกระดิก ฉี่บ่อยๆ เห็นตัวผู้ไม่ได้มักจะเข้าไปตอม ไม่ค่อยกินอาหาร มีอาการแสดงให้ตัวอื่นขึ้นขี่ เป็นระยะเวลาประมาณ 12-36ชม. และไข่มันจะตกเมื่อระยะเวลาหลังจากมันยอมให้ตัวอื่นขึ้นขี่ 12-36 ชม. ดังนั้นเพื่อให้มีอัตราการผสมติดที่สูงก็ควรผสมหลังจากเห็นมันยอมให้ตัวอื่นขึ้นขี่ ยืนนิ่งไม่วิ่งหนี 12 ชม. และผสมซ้ำอีก12ชม.ต่อมา ประมาณว่าเห็นเช้าผสมเย็น และผสมซ้ำอีกที่ตอนเช้า
- ระยะการตั้งท้อง 146-155 วัน
- ฤดูกาลผสมพันธุ์ ประมาณ สิงหาคมถึงมกราคม(ตามตำราฝรั่ง) แต่เท่าที่ดูในไทยรู้สึกว่าแพะมันไม่ค่อยเป็นสัดก็ตอนหน้าร้อนนี่แหละ มีนา เมษา นอกนั้นผสมได้หมด แต่เป็นสัดหนักๆก็ ช่วงเดือนตุลาไปจนถึงเดือนมกรา นี่แหละ อันนี้ผมไม่แน่ใจเพราะตอนเลี้ยงผมเช็คการเป็นสัดทุกวันเห็นแล้วจูงตัวผู้เข้าผสมเลย ผมไม่ได้ปล่อยตัวผู้เข้าคุมฝูงถ้าท่านใดมีข้อมูลที่ถูกต้องขอความกรุณาแนะนำด้วยครับ สำหรับท่านที่ปล่อยตัวผู้คุมฝูง อาจจะลดสัดส่วนตัวผู้ต่อตัวเมียให้น้อยลงเพื่อให้มีการผสมติดมากขึ้น
ตัวผู้
- อายุเข้าวัยเจริญพันธ์ 4-8 เดือน เรียกได้ว่าแพะปี้(ขอพูดหยาบหน่อยแล้วกัน เข้าใจง่ายดี)เป็นแต่เด็กเลยครับ ดังนั้นเราต้องจัดการการตั้งท้องอันไม่พึงประสงค์ คือ ก่อน 4เดือน แพะอนุบาลควรแยกเพศผู้ เพศเมีย ซะม่ายยังงั้นมันปี้กันแหลกเลยครับ เดี๋ยวแพะสาวของเรา จะกลายเป็นแพะท้องไม่มีพ่อ ผมเคยเอาแพะปิกมี่ คู่นึงเลี้ยงใกล้ๆคอกอนุบาลซาแนน ดีใจแพะคลอดแล้วโว้ย ปิกมี่ แต่ทำไมมันสีขาวหว่าพ่อก็เทา แม่ก็เทา แต่อารามดีใจ เออน่ะลูกแพะกลายพันธ์ สุดท้ายเลี้ยงไปมาจนโต กลายเป็นซาแนนแคระไปเลย ฮือฮือ
- ฤดูกาลผสมพันธ์ แพะเก่งครับ เหมือนเราเลยผสมได้ทั้งปี
- สัดส่วนที่เหมาะสม พ่อแพะ1ตัวควรคุมฝูงตัวเมียประมาณ 20-30ตัว ตัวเลขนี้บ้านเรายังไม่มีใครแจ้งผลมาว่าดียังไงบ้าง เห็นทำตามๆกันมา ก็ลองๆทำกันดูครับ ส่วนตัวผมไม่มีข้อคิดเห็นครับ เพราะคิดว่าเหมาะสมแล้ว
เห็นยังครับสำหรับมือใหม่ที่ถามกันบ่อยๆว่า ผมควรเลี้ยงแพะกี่ตัวดี ลองอ่านข้อมูลตัดสินใจเอาเองว่าท่านควรเลี้ยงแพะกี่ตัวสำหรับมือใหม่ คำตอบง่ายๆครับ 21 ตัวผู้ 1เมีย 20แค่นี้ท่านก็อ้วกแล้วครับ สุดท้ายนี้ อย่าลืมนะครับ ตรวจโรคก่อนนำเข้าฟาร์ม เพราะเริ่มใหม่ป้องกันง่าย พอเยอะๆขึ้นแล้วมันจะป้องกันลำบาก เน้นย้ำโดยเฉพาะโรคบรูเซลโลซิส นะครับ แล้วก็สำหรับท่านชายนะครับพูดถึงระบบสืบพันธุ์แล้ว อย่าลืมยืดอกพกถุงนะครับ แล้วอีก 2 วันเจอกันครับ
ถึงท่านที่แวะเข้ามาทุกท่านครับ ว่างการอัพเดท2-3 วันแล้ว พอดีพาแฟนไปสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วยที่สระแก้วมาครับ ระหว่างยืนรอคิวเข้าสมัคร มีคนรอประมาณหลักพัน ผมก็ได้เวลาว่างๆคุยกับผู้ปกครองคนที่มาสมัครสอบ แกบอกว่าลูกสาวอ่านหนังสือ ถึง ตี3กว่าๆแกบอกว่า แกทำนายังไม่เห็นลำบากเท่าขนาดนี้เลย นึกว่าจบปริญยาตรีแล้วจะสบาย ต้องมาตระเวนสอบทั่วประเทศ คนเป็นหมื่น รับแค่คนเดียว แถมสอบขึ้นบัญชีได้แล้วก็รอเรียก อีก 2ปีแน่ะ ผมเห็นแล้วก็ จริงอย่างที่แกพูดนะครับ แถมผมมามองเห็นว่าถ้าเราเอาเงินค่าใจ้จ่ายในการสมัครสอบ ค่าเดินทางค่าที่พัก ค่ากินอยู่มาคำนวณแล้ว ประมาณ 2-3 พันบาทต่อคน ลงทุนซื้อแพะ หรือวัวก็ได้ 2ปีผลผลิตได้แน่ๆ แถมเผลอๆกลายเป็นเถ้าแก่แน่
เข้าเรื่องนะครับตามจั่วหัวเลย ตามข้อมูลคุณมูฮิบ ฟาร์มแพะเฉลิมไทย ตอนนี้แพะกำลังเป็นที่ต้องการมาก ใครมีแพะก็เริ่มขุน กันได้แล้วนะครับเพราะใกล้เข้าช่วงเดือนถือศีลอด (เราะมะฎอน) ปีนี้ตรงกับปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช 1428 ตรงกับวันที่14 กันยายน - 14 ตุลาคม2550 และปลายปีระหว่างการประกอบพิธีหัจญ์ ตรงกับวันที่ 11-21 ธันวาคม 2550 ที่นี้ตัวผู้ตัวเมียข้าไม่เกี่ยงแล้ว รีบเตรียมตัวนะครับ ยิ่งใครแพะ ขวบแล้วคัดพิเศษเลยครับ เกี่ยงราคากับพ่อค้า พรีเมี่ยมเกรดครับ ขอราคาได้เลย พ่อค้าบางเจ้าทำเป็นติว่าแพะเล็กแต่จริงแล้ว แพะขวบเป็นที่นิยมมากนะครับ เพราะไม่ใช่แพะเด็กตามหลักศาสนา กินใด้ แถมเนื้อนุ่มกลิ่นน้อย พ่อค้าปลายทางคาดว่าคงเอาแพะขวบมาขายอัพราคาอีกแน่ๆ
ทีนี้เรามาคุยกันต่อเรื่องการขุนแพะ ผมคงไม่กล่าวถึงเพราะไม่ชำนาญอาหารเท่าไหร่ แต่ละที่วัตถุดิบและต้นทุนไม่เหมือนกัน เจ้าของฟาร์มแพะต้องพลิกแพลงเองนะครับ ไม่ใช่ว่าผมแนะนำท่านขุนโดยใช้แพงโกล่า แถวๆบ้านท่านไม่มีท่านต้องถ่อไปหาแหล่งที่ห่างจากบ้านท่าน ค่าขนส่งเอย ค่าหญ้าเอย วุ่นวายครับ เราต้องอยู่อย่างพอเพียง อาศัย ช่วงนี้หญ้าอุดมสมบูรณ์ฝนดี เอาหญ้าสด และอาหารข้นคุณภาพดี ที่มีตามบ้านน่ะแหละครับ
อย่างที่ผมว่าไว้หน้านี้ใบไม้ หญ้าสดมีเยอะ แถมอ่อนๆ อีกต่างหาก เสร็จโก๋แพะสิครับ ท่านบริโภคเรียบ แถมเจ้าของเร่งขุน เอาอาหารข้นระดับสุดยอด หวังผลระยะสั้น เปลี่ยนอาหารซะ กิน อาหารซีพี ระยะให้นมเลย ปัญหาที่ตามมาคือกระเพาะหมัก ไม่ทำงานแทนที่จะได้แพะขายเลยกลายเป็นแพะตายแทน ไอ้ปัญหากระเพาะไม่ทำงานเนี่ย มักจะเป็นบ่อยๆในแพะ เนื่องจากการบริโภคมากครับ ถ้าเป็นคนก็กระเพาะคราก แต่ในแพะมันใช้แบคทีเรียย่อยเมื่อ สภาพในกระเพาะเปลี่ยนกระทันหัน แบคทีเรียตายหมดแล้วมันจะย่อยยังไง กระเพาะก็ไม่ทำงาน อาการต่อมาก็ท้องอืดสิครับ อาการประมาณท่านกินเนื้อย่างบุพเฟต์ แล้วอาหารไม่ย่อยน่ะแหละครับ แต่ในแพะท้องอืดนี่ถึงตายเลย สาเหตุหลักๆ คือ กินมาก กับเปลี่ยนอาหาร
อาการที่พบมาก จะพบ ในลูกแพะที่ท่านเตรียมตัวขุนน่ะแหละ ผมเคยเอาถั่วคาวาลเคด ให้ลูกแพะกินเรียบร้อยครับท่านท้องอืด กรอกรักษากันแทบไม่ทัน ตายครึ่งไอ้ที่หายก็แกร็นไปเลย สาเหตุสำคัญคือการให้อาหารที่คุณภาพสูง ยิ่งหน้านี้หญ้าอ่อน ใบไม้อ่อนๆยิ่งน่ากิน หรือบางท่านใช้วิชามารโปรตีนไม่สูงเรอะ ยูเรียนี่แหละราดลงไปเลยเรียบร้อยครับท่าน อีกจำพวกก็แม่แพะครับคลอดเสร็จก็กินรกตัวเอง แล้วรกมันย่อยได้ที่ไหนละครับม้วนๆในกระเพาะรอมันเน่า
อาการกระเพาะไม่ทำงานมีหลายอาการนะครับ บางท่านอาจจะเคยเจอมาแล้วแน่ๆคือ ซึม บางตัวอาจจะนอนลง หายใจยากๆ บางตัวอาจจะกัดฟันกรอดๆ เมื่อท่านไปใกล้ๆมักจะไม่ค่อยลุกหนี ในกรณีที่แพะมันกินอาหารหรือหญ้ามากเกินลองจับเอามือคลำตรงสวาปด้านซ้าย ถ้าปกติจะมีเสียงเคลื่อนไหวครืดคราด ถ้าผิดปกติจะไม่เคลื่อนไหว มันจะแน่นๆเป็น แข็งๆ นึกไม่ออกก็เอาถุงผ้าใส่ทรายใส่น้ำแล้วลองคลำดูนะครับ ลักษณะขี้เป็นเม็ดลูกกลอนปกติแต่มีปริมาณน้อยลง บางตัวอาจจะหายไปเอง ภายใน 1-2วัน บางตัวก็ท้องอืดตายไปเลย ใอ้ตัวที่เป็นหนักๆตามักจะแดง กัดฟันไม่หยุด
การรักษา เบื้องต้นอันดับแรกของท่านคือการให้น้ำมันพืชเลยครับ 10-20 ซ๊ซี หรือถ้าให้ดีก็เป็น กลีเซอรีน แล้วก็บดแอสไพรินซักเม็ดถึง 2เม็ดกับยามิลค์ออฟแมกนีเซียม ซัก 2ซ้อนโต๊ะ ขององค์การเภสัช ลองถามคนขายยาเอาะไรก็ได้ที่มีมิลค์ออฟแมกนีเซียม รู้สึกแอนตาซิลก็จะมีนะ ให้น้ำมันพืชทำไมเหรอครับ มันเหมือนกับล้อหมุนยากก็ใส่จารบีนีดนึง มันก็หมุนได้สบายแฮ(แล้วท่านอย่าหวังดีเอาจารบีให้แพะกินล่ะเดี๋ยวตายเปล่าๆ น้ำมันพืชเท่านั้นครับ น้ำมันพืช) ส่วนแอสไพรินก็ช่วยลดอาการปวดครับ มิลค์ออฟแมกนีเซียมก็เป็นยาระบายครับ บางครั้งปริมาณอาจจะให้ได้ ตามขนาดตัว ถ้ามันเป็นหนักมากขึ้นแล้วท้องอืด ล้มตัวนอน หายใจยาก อีตอนนี้ตามสัตวแพทย์ใกล้บ้านท่านเลย ถ้าไม่มีก็ต้องเจาะครับเดี๋ยวค่อยเล่ารายละเอียดบทความหน้า
การรักษามันไม่ใช่คำตอบของปัญหานี้ เพราะมันเกิดจากการกระทำของคน ในการให้อาหารอย่างไม่ยั้งคิด หรืออาจให้โดยไม่รู้แก้ได้โดยการหลีกเลี่ยงการเปลี่นยอาหารกระทันหัน และการปล่อยลงแปลงหญ้าที่ มีใบพืชอ่อนๆ แม่แพะคลอดลูกแล้วก็พยายามรีบเก็บรกไปทิ้งซะ ป้องกันดีกว่าแก้ครับ แล้วเราจะมีแพะเข้าพิธีกันเยอะๆ รวยๆ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ถามทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับ แพะ สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่(จริงหรือ) ว่าท่านที่เลี้ยงแล้วมีที่ขายหรือไม่ คำตอบคือมีแน่ๆ แล้วถามต่ออีกว่าขายให้ใคร ก็พ่อค้าที่ส่งลงใต้ไงครับ(ใกล้รอมฎอนแล้วนา)บรรทุกกันเป็นคันรถ10ล้อ คืนละ2คันเป็นอย่างน้อย อีกทางนึงขายเข้ากทม. ผมเคยถามอาบังที่ทำแพะแถวๆทุ่งครุเขาพูดเล่นๆมาว่า เขาเชือดแพะวันละ 60ตัว ลองคำนวณแล้ว เดือนละ 1800 ตัวโอ้วแล้วเขาเอาแพะมาจากไหนกันเล่า กว้านซื้อมาถูกๆ แถมเลือกเอาแต่ตัวผู้ตอนซะอีกแน่ะ ซื้อมา กก. ละ30-40 บาท ชำแหละแล้วขาย กก.ละ100 บาทเป็นอย่างต่ำ หนังขายได้อีก โอวว์ รายได้ดีจัง แต่ช้าก่อนโยม อย่าพึ่งตาโต ผมมีคำถามบันได 10ขั้นว่าท่านพร้อมกับธุรกิจนี้หรือไม่
1.ท่านรักและมีเวลาให้กับมันหรือไม่
2.ท่านมีทุนและสายป่านยาวแค่ไหน
3.ท่านมีความรู้ที่แท้จริงหรอไม่
4.ท่านมีพรรคพวกหรือไม่
5.ท่านพร้อมที่จะขาดทุน3ปีติดต่อกันหรือไม่
6.ท่านพร้อมที่จะทำให้ถูกต้องตามกฏหมายหรือยัง
7.ท่านพร้อมที่จะยอมรับความสูญเสียจากโรคระบาดในแพะหรือยัง
8.ท่านพร้อมที่จะติดโรคจากแพะหรือไม่
9.ท่านมีการบริหารจัดการดีแค่ไหน
10.ท่านมีเลือดบ้ากี่เปอร์เซ็นต์ ในร่างกายของท่าน
ทั้ง10ข้อมันอาจจะเป็นคำถามที่ไม่ค่อยเป็นวิชาการนักแต่มันเป็นคำถามที่ผมคิดว่าน่าจะใกล้เคียงกับภาวะการณ์ปัจจุบัน แพะมีโรคระบาดที่ติดคนและค่อนข้างร้ายแรงคือโรคบรูเซลโลซิส มันเป็นเหตุให้การเคลื่อนย้ายแพะลำบาก เจ้าพนักงานทั้งหลายแหล่ก็จะจับท่าน แต่เพื่อความอยู่รอดแพะท่านต้องดำน้ำลงไปเองเพื่อให้ได้ราคาดี(แพะสมัยนี้ดำน้ำโคตรเก่งเลยดำคืนเดียวไปโผล่นราธิวาส) แต่ถ้าขายพ่อค้าคนกลางก็โดนกดราคา ถ้าชำแหละเป็นเนื้อลงไปก็ขายยากเนื่องจากไม่เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้นะครับ แต่ท่านต้องมี 10ข้ออย่างที่ผมบอก เดี๋ยวเราค่อยมาคุยเรื่องโรคบรูเซลโลซิสแบบถึงกึ๋นกันเลย เอาแบบที่ใช้งานได้จริง ผมมีประสบการณ์โดยตรงกับโรคนี้ค่อนข้างเยอะพบทั้งกับคนและสัตว์ แนวทางการทำฟาร์มปลอดโรคบรูเซลโลซิสเพื่อการเคลื่อนย้าย แบบง่ายๆภายใน3เดือน ทำเองก็ได้ไม่ง้อใคร(สำหรับฟาร์มขนาดไม่เกิน 100 ตัว) แต่ต้องถึกกับมันซักระยะ ตอนนี้ขอเกริ่นนำไปก่อนแล้วเราค่อยมาคุยกัน อย่าลืมแชร์ความรู้กันด้วยนะ
หลายๆท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านต้องต้อแต๊ เนื่องจากแพะสุดหวงของท่านมีอันเป็นไปไม่ทราบว่าน้อยใจเจ้าของที่ไม่ค่อยดูแลเลยน้อนใจตายไปก่อน ล้อเล่นนะครับ หลายๆท่านที่เคยอ่านบล็อกผมมาเรื่อยๆ หรือการอ่านจากตำราหรือคู่มือการเลี้ยงแพะในบ้านเรา มักจะมีโรคสำคัญที่มักกล่าวถึง คือโรคพยาธิ ทีนี้ หลายๆท่านคงอยากจะทราบว่าอีพยาธิอันน่าชังเนี่ย มันจะเป็นตัวไหนบ้าง แฮ่ๆ ตอบตามตรงครับจำไม่ได้ รู้แต่ว่ามีกลม กับแบน(ไม่ใช่เหล้านะครับ) เ
อาหล่ะเข้าเรื่อง ตามที่จั่วหัวเรื่องนะครับ การตายอันไม่ทราบสาเหตุ มันมัไม่กี่โรคหรอกครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงก่อนคือ ฤดูกาลหรือสภาพอากาศ ว่าช่วงวลานั้นๆมันเอื้ออำนวยกับโรคอะไรได้บ้าง เช่น กรณีพยาธิเม็ดเลือด และ โรคปอดพาสเจอร์เรลโลซิส มักจะเกิดในช่วงที่มีฝนชุกความชื้นสูง เช่นที่ผมพูดถึงในเรื่อง ออกซี่เตตราไซคลิน ลองตามอ่านดูนะครับ พอดีผมลืมบางอย่างที่มันเป็นพื้นฐาน ซึ่งมันน่าเขกกระโหลกจริงๆลืมมันไปได้ พยาธิครับพี่น้อง มันก็มาได้พร้อมๆกันน่ะแหละ
แล้วที่นี้พยาธิตัวไหนที่มันเป็นอันตรายกับแพะของเราๆท่านๆบ้างหละ ผมถือคติที่ว่า รู้เขารู้เรา รบ 100 ครั้งชนะ 100 ครั้ง เรารู้ตัวเราเองว่าอยู่ในเขตร้อนชื้น โอกาศมีพยาธิ มัน 1000% อยู่แล้วครับ แล้วพยาธิตัวไหนล่ะที่มันเป็นแม่ทัพและอันตรายกับเรา มากที่สุด (ไอ้พยาธิตัวอื่นๆมันก็มี แต่ผมถือว่ามันปลาซิวปลาสร้อย เราต้องฆ่าไอ้ตัวที่มันอันตรายที่สุดก่อน)
ผมขอเสนอไอ้ตัวร้ายตัวแรกเลย เพราะอะไรรู้มั้ยครับ เพราะมันเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้แพะท่านตายอย่างเฉียบพลัน คือพยาธิ เอ่อ ลืมชื่อไทยครับ ขอทับศัพท์แล้วกัน ฮีมองคุส เป็นพยาธิตัวกลม ที่มีลักษณะเด่นคือเมื่อมองตอนตัวมันเป็นๆ จะเห็นเป็นเกลียวๆขาวแดงสลับกัน ถ้านึกภาพไม่ออกท่านเคยเห็น ไอ้ท่อทรงกระบอกหมุนๆขาวแดงที่อยู่ตามร้านตัดผม หรือร้านเสริมสวยไหมครับ น่านแหละครับ ฝรั่งมันเลยตั้งชื่อว่า หนอนพยาธิบาร์เบอร์ (ไม่ใช่บ้าเบอร์นะครับ) Barber's pole worm (Haemonchus contortus) อีพวกนี้มันจะพบทั่วโลก ส่วนมากจะเกิดในเขตร้อนชื้น มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก บางครั้งทำให้แพะตายแบบเฉียบพลันโดยไม่แสดงอาการอะไรเลย การรักษาไม่ค่อยได้ผล เพราะแพะท่านจะตายซะก่อน การป้องกันเป็นวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด
อีพยาธิช่างตัดผมตัวนี้ มันจะอาศัยอยู่ในกระเพาะแท้ ถ้าภาษาบ้านเราก็น่าจะเป็น 30กลีบ มีความยาวประมาณ 2-3 ซม. การแพร่พันธ์มันก็โดยไข่ ออกมาทางอุจจาระปริมาณอันมหาศาล และฟักตัวได้รวดเร็วในพื้นคอกกลายเป็นหนอนตัวเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คลานกระดึ๊บๆตามแปลงหญ้าบ้าง กองอาหารบ้าง เมื่อแพะกินมันเข้าไปมันจะเจริญเต็มที่ ตอนประมาณ 3สัปดาห์ จากนั้นก็วางไข่อีก วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์ และไข่มันจะฟักตัวเร็วมากในช่วงร้อนชื้น
อาการสำคัญที่พบมากในแพะคืออาการซีดๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการเสียเลือด ในรายที่เป็นรุนแรงมากๆอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย มองตาดปล่าแพะสุขภาพดีอาจตายไม่ทราบสาเหตุ อีกวิธินึงในการตรวจคร่าวๆคือการดูเยื่อบุตา คือมันจะซีด หรืออาจจะสังเกตุดูตอนปล่อยแพะลงแปลงแล้วตอนที่ไล่มันกลับเข้าคอก มันจะมีแพะวิ่งช้าๆ ดูเหนื่อยๆ มากกว่าตัวอื่นๆ หรืออีกวิธีการนึงคือดูที่คางของแพะที่มีการติดพยาธิเรื้อรัง คางมันจะบวมๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาการนี้มันจะเกิดขึ้นทั้งหมด แต่จากประสบการณ์ ถ้าคางบวม แล้วฉีดยาฆ่าพยาธิ ประมาณ 70เปอร์เซนต์มักจะหาย(ความเห็นส่วนตัว) แต่นอกจากนี้แล้วอาการพื้น ๆก็อ่อนแอ ผอมขนหยาบท้องเสีย แต่การวิเคราะห์หาสาเหตุโรคก็อาศัยการตรวจทางแลบ หรือกรณีที่มีแพะตายลองผ่าซากดูเพื่ออาจจะเจออะไรเจ๋งๆก็ได้
การรักษา ส่วนมากโดยการกิน มันจะมี 2แบบให้เลือกนะครับ
1การรักษาแบบหว่านแหทีเดียวอยู่คือ ฆ่าได้เกือบทุกระยะ และทุกชนิด
-ให้พวกกลุ่ม benzimidazole(ซึ่งก็คือ อัลเบนดาโซล นั่นเอง) คู่กับ Levamizole
2.กรณีแน่ใจว่าเป็นไอ้พยาธิช่างตัดผม ก็อาจจะให้ Closantel เพื่อกำจัดตัวอ่อนก็ได้
อย่างไรก็ตามแนะนำให้ฉีด Ivomec ร่วมด้วยทั้ง2แบบ(ไม่จำเป้นต้องเป็น Ivomec-F)
โดยทั่วไปแล้วพยาธิช่างตัดผมนี้มันมักจะไม่ค่อยดื้อยาเท่ากับพยาธิชนิดอื่นๆ แต่ ฝรั่งมันแนะนำว่าให้ใช้Closantel เป็นหลักเพราะมันบอกว่า การใช้ยาตัวอื่นๆทำให้พยาธิสายพันธ์อื่นดื้อยาได้ แต่ความเห็นส่วนตัวผมบ้านเรามันดื้อยาหมดแล้วครับเพราะใช้ยากันเปรอะเหลือเกิน แถม ไม่รู้ว่าClosatel เนี่ยมันมีขายที่ไหน เอาเป็นว่าตอนนี้บ้านเรา มีแค่ อัลเบนดาโซล กับไอเวอร์เมคใช้กันประจำทุกครัวเรือน คาดว่าคงดื้อยาหมดแล้ว เหลือลีวาไมโซลอีกตัวนึงที่น่าสนใจครับ ลองถามดูกับปศุสัตว์ใกล้บ้านท่านนะครับ แล้วก็ปรึกษาการใช้ยาเพื่อถ่ายพยาธิแบบพอเพียง คือใช้แล้วถูกที่สุด ได้ผลดีที่สุด และไม่ดื้อยา เพื่อความยั่งยืน
การควบคุมในกรณีที่ท่านต้องอยู่กับมันอย่างเสียมิได้ เมื่อท่านตรวจพบแล้วว่ามันเป็นแน่ๆ ในฝูงของท่านต้องได้รับยาอย่างทันที โดยมีทริคเล็กน้อยคือหลังจากให้ยาแล้ว ในนำฝูงแพะไปอยู่ในที่ที่แห้งทันที เพื่อป้องกันการได้รับตัวอ่อนเพิ่ม แล้วก็ทำความสะอาด ปล่อยให้แห้งตากแดด ค่อยนำแพะกลับมาอยู่อีกที ดังนั้นวิธีการกันดีกว่าแก้คือก่อนเข้าหน้าฝนควรมีการถ่ายพยาธิ ครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตามไอ้อาการตายเฉียบพลันเนี่ยมันเป็นไปได้หลายสาเหตุ ผมอนุมานว่ามันคงเป็นกลุ่มโรค ที่มีโอกาสเป็นได้หลายๆอย่าง ต้องอาศัยการรักษาแบบบูรณาการ(ภาษาชาวบ้านคือ ฆ่าแม่มให้หมดหรือเหลือน้อยที่สุด) เพื่อความยั่งยืน คือเมื่อเราทราบว่าน่าจะเป็นอะไรได้บ้าง ก็ค่อยรักษาและป้องกัน แต่อย่างนึงที่อยากจะบอกคือโรคพวกนี้มันจะมาเป็นฤดูกาลเราต้องป้องกันก่อนเสียหาย รู้ว่าโรคมาแน่แต่ไม่ป้องกันอะไรซักฮย่าง ก็เตรียมตัวเจ๊งกันล่ะครับ บางท่านอาจจะเคยเจอปัญหามาบ้าง แต่บางคนก็ว่าอย่างนั้น บางคนก็ไม่ยอมบอกหรอก ประมาณว่าเจ๊งมาเยอะ คนอื่นต้องเจ๊งบ้างดังนั้น มีอะไรก็เตือนๆกันครับ มันจะยั่งยืน
อาการเป็นบิดในแพะ ถ้าแพะไม่ตายเสียก่อน แพะจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถหายเองได้แพะจะไม่แสดงอาการท้องเสียอีก แต่แพะตัวที่หายป่วยแล้วจะเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นถ้าสังเกตุเห็นอาการแรกเริ่มแล้วเริ่มแยกแพะตัวสงสัยออกจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้
เมื่อเริ่มมีการระบาดควรจัดการให้ฝูงแพะมีขนาดเล็กลง อาจจะแยกคอกย่อย หรือหาคอกว่างๆเพิ่มขึ้น รางน้ำรางอาหารถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนใหม่หมดเพื่อลดไม่ให้มีอุจจาระแพะปนเปื้อนและควรเป็นแบบที่แพะไม่สามารถเดินบนรางอาหารได้ การให้อาหารกับพื้นดินควรงด วัสดุปูรองต่างๆให้เปลี่ยนให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มแพะเล็ก หรือแม่แพะเลี้ยงลูก อย่างไรก็ตามในกรณีที่แพะแสดงอาการรุนแรงสามารถเลือกให้ยาเพื่อการรักษาได้
ในรายที่มีอาการควรให้ยาปฎิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน ยาเคลือบลำไส้เช่น Kaolin pectin (มีขายตามร้านยาคน ถ้าจะให้ดีซื้อยกแกลลอนจะถูกกว่า) ควรให้คู่กันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในรายที่เสียน้ำมากๆควรให้น้ำเกลือร่วมด้วย
ยาปฎิชีวนะที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นกลุ่มซัลฟา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มปริมาณเชื้อในร่างกายแพะและป้องกันเชื้ออื่นแทรกซ้อน แล้วให้แพะมีการการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อรักษาตัวเอง แต่ยากลุ่มนี้มีการใช้มานานกว่า50ปีแล้วบางกรณีเชื้ออาจมีการดื้อยา การเลือกใช้ยาร่วมกันระหว่างกลุ่มซัลฟา(เช่น sulfamethazine, sulfaquinoxaline) กับionophores(เช่นmonensin, lasalocid) อาจจะให้ผลดีกว่า
แต่ในความเป็นจริงยากลุ่มionophores(เช่นmonensin, lasalocid) มีราคาค่อนข้างแพงเผลอๆ บ้านเราไม่มีขายด้วย การใช้ยาซัลฟาคุณภาพดีและใช้ต่อเนื่องกันแบบครบโด๊ส ก็พอช่วยได้บ้าง มียาอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้ควบคุมบิดในไก่เช่น Amprolium ก็พอใช้ได้เป็นแบบละลายน้ำ(แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะไม่มีขายในบ้านเรามา 5-6ปีแล้ว) ยากลุ่มที่พอมีขายในบ้านเราและพอใช้ได้ คือ Toltrazurilแต่ราคาแพงมาก แนะนำใช้ในลูกแพะเ หมาะสำหรับฟาร์มที่ขายพันธ์ โดสที่ใช้ 25มก/กก ถ้าใช้แบบ 2.5% ก็ประมาณ 1ซีซี/ กก ถ้าจะให้ดีควรให้กับลูกแพะอายุประมาณ2สัปดาห์
สวัสดีอีกครั้งครับเพื่อนชาวแพะทุกท่านผมได้ทำการสรุปแล้วว่า ผมจะมาอัพเดทบล็อกประมาณ 2วันครั้งนะครับ เพราะผมพิมพ์ไม่ค่อยเก่งเสียเวลานานพอควรเลยในการนำเสนอปกติจะชอบพูดมากกว่ามันส์กว่าเยอะเลย ถ้าอัพเดทวันละครั้งตายเลย ไม่รู้จะเอาอะไรมาพิมพ์ แค่เนื้อหาก็ตาเหลือกแล้วครับ
เอ่ออีกประเด็นนึงสำหรับท่าน ที่เข้ามาชมผมมีความต้องการอยากได้ข้อมูลจากทางท่านว่าท่านต้องการทราบเรื่องอะไรบ้าง เพราะผมได้แต่คาดเดา ส่วนมากจะเป็นโรคที่มักจะพบตามฤดูกาล และ หัวข้อน่าสนในในช่วงนั้นๆ สำหรับท่านทีต้องการทราบเรื่องอะไร ลองเสิร์ชดู ตรงช่องข้างๆดูก็ได้ครับ เพราะมันจะส่งข้อมูลมาหาผมว่าท่านต้องการทราบเรื่องอะไร โดยใช้คำที่ท่านค้นนั่นแหละครับ แล้วผมจะค้นกับเค้นข้อมูลมาให้
เอาหล่ะครับเข้าเรื่องก่อน วันนี้ผมขอชี้แจงนิดนึง คือผมเป็นคนทำงานออฟฟิศนะครับ ในอดีตเคยทำงานเกี่ยวกับแพะมาซักระยะ ไม่นานหรอกครับ รู้เรื่องบ้าง ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้วแต่ก็มีพลพรรคติดต่อมาเรื่อยๆ สอบถามเรื่องโรคบ้าง การจัดการบ้าง ก็เลยเกิดไอเดียว่าน่าจะเอาความรู้มาหาตังค์บ้าง เลยดูเน็ตไปมาเลยมาปิ๊งส์กับ กูเกิล แอดเซนส์ เข้า คือมันมีรายได้จากการที่คนคลิกเข้ามาดูโฆษณาแล้วได้ตังค์น่ะแหละครับ เพราะผมคิดว่าผมคงไม่มีเวลาออกฟิลด์แล้วหาตังค์โดยการรักษา เลยอยากมีรายได้เพิ่มมาบ้างลองทำดูแล้วยังไม่ได้ตังค์ซักบาทเลยครับ เพราะกูเกิลไม่รองรับบล็อกภาษาไทย เลยกลายเป็นโฆษณาการกุศลไป ดังที่ท่านเห็นข้างล่างบทความนั่นแหละครับคลิกไปผมก็ไม่ได้ตังค์ เห็นว่าอีก 2อาทิตย์เค้าจะปรับเปลี่ยนระบบใหม่คงจะรองรับภาษาไทยมากขึ้น
แต่สารภาพตามตรงขอเขียนบล็อกแล้วมันก็มันส์ดีนะครับมีคนมาอ่านเยอะเลยทั้งหลงมาและตั้งใจมาดู แต่80%จะตั้งใจมาดูครับ ขอบคุณหลายๆ ได้แต่หวังว่ามันคงเป็นประโยชน์บ้าง ในอนาคตถ้าไม่มีคนคลิกก็อาจจะเอาบทความมารวมเล่มขายเผื่อจะรวยบ้างเพราะผมเห็นบทความจากหลายเล่มบางส่วนมาจากการเอาตำราอาจารย์มาเขียน แปลภาษาอังกฤษบ้าง ซึงบางอย่างบ้านเราทำไม่ได้ และบางอย่างก็เป็นการพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป เกินความจำเป็น ผิดคอนเซ็ปผมที่เน้นความพอเพียง ใช้ได้จริง และหาได้ในบ้านเรา บางโรค บางท่าน บางตำราอาจจะพูดเกินจริง
ผมก็ได้แต่หวังว่าจะมีเซียนแพะที่รู้จริง แจ้งเกิดขึ้นมาบ้าง ชนิดที่ว่ารู้จริงๆไปเลย ซึ่งหลายๆท่านที่ผมรู้จัก รู้จริงรู้ละเอียด แต่ไม่ยักกะมีชื่อเสียงแฮะ(สงสัยพวกท่านเหล่านั้นขาดความรู้ทางด้านการประชาสัมพันธ์) สำหรับบางท่านก็ดันเป็นที่รู้จักกว้างขวาง แน่ะ ผมเลยเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อให้บรรดาเซียนๆเข้ามาคอมเมนท์บ้าง เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อผู้ที่คิดจะเข้ามาเลี้ยงแพะรายใหม่ มีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และรวมกลุ่มกัน
โดยเนื้อแท้แล้วผมจะเขียนเป็นเชิงวิชาการก็ได้ แต่ผมเคยเรียนรูปแบบนี้มาเยอะแล้ว อ้างอิงเยอะๆเข้าไปมีแต่น้ำ อ่านจบแล้วยังไม่รู้เลยว่าจะทำไงต่อไป บทความของผมก็เลยจะมาในรูปแบบที่ผมเจอปัญหามาจริงๆ และผมลองแก้ไขดูแล้ว พบว่ามันพอใช้ได้ก็เลยมานำเสนอกัน ถ้าท่านที่เคยอ่านบทความก่อนๆผมจะเน้นยาที่ท่านพอหาได้ในท้องที่ของท่าน ไม่เน้นยาที่เลิศหรูมากนัก สำหรับนักวิชาการที่แวะเข้ามาชมอาจจะอ่านแล้วทะแม่งๆบ้างก็รบกวนคอมเมนท์มานะครับเพื่อความถูกต้องคนอื่นจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง แล้วเราจะเลี้ยงแพะได้อย่างยั่งยืน
วันนี้ยังไม่มีเรื่องแพะครับ สัญญาว่าอีก2วันเขียนให้อ่านกันอีกแน่ๆถ้าไม่มีข้อขัดข้องอะไร วันนี้คุยกันเรื่องเบาๆแล้วกันครับ ผมมีโปรแกรมท่องเว็ปตัวใหม่หรืออาจจะเก่าสำหรับหลายท่าน โปรแกรมนั้นชื่อว่าจิ้งจอกไฟหรือ Firefox นั่นเองที่แนะนำเพราะว่ามันมีความไวในการโหลดข้อมูลและภาพเร็วมากๆ เหมาะสำหรับท่านๆที่เข้าเว็ปเป็นประจำๆและอาศัยกูเกิลในการหาข้อมูล
ข้อมูลการเยี่ยมชมที่ผมเก็บไว้ พบว่า 99%ใช้ อินเตอร์เนตเอกซ์พลอเรอร์ หรือโปรแกรมดูเว็ปที่แถมมากับวินโดวส์นั่นเอง เลยอยากแนะนำโปรแกรมตัวใหม่ ผมมีข้อแนะนำนิดนึงสำหรับท่านที่การป้องกันไวรัสไม่ดีนัก จิ้งจอกไฟเป็นคำตอบที่ดีเนื่องจากไวรัสไม่ค่อยมายุ่ง เวลาเราคลิกอะไรไวรัสโทรจันหรื่อไวรัสหนอนจะเข้ามาได้ยากกว่า อินเตอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ เพราะอะไรหรือครับ เพราะว่านักเขียนไวรัสทั้งหลายชอบลองของกับไมโครซอพท์ซึ่งก็คือโปรแกรมวินโดวส์นั่นเอง ตัวผมเองก็ใช้จิ้งจอกไฟเป็นประจำ เพราะภาพโป๊ที่มันหลอกให้คลิกตามเว็ปบอร์ด มันทำผมแสบหลายครั้งแล้วครับ
สำหรับท่านทีใช้เนตความเร็วสูงมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเวลาโหลดรูปแต่ลองใช้ดูครับมันจะต่างกันมากเลย แล้วตัวใหม่มันมีกูเกิลทูลบาร์เหมาะสำหรับนักหาข้อมูลอย่างเราๆท่านๆเปิดมาค้นข้อมูลได้เลย เมนูการใช้งานคล้ายๆกับอินเตอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ แถมมีข้อมูลมากมายและใช้งานง่าย ที่สำคัญฟรีด้วยครับ ลองดาวน์โหลดมาใช้กันนะครับ คลิกตรงขวามือใต้ลิงค์น่าสนใจอันที่ 2ที่เป็นรูปจิ้งจอกล้อมลูกโลกนั่นแหละครับ ลองใช้ดูครับไม่เสียหาย แล้วอีก 2วันเจอกันครับ
โรคบิด
โรคบิดในแพะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยๆในแพะบางครั้งเป็นสาเหตให้แพะตายได้พบมากในลูกแพะ และแพะเต็มวัยที่มีอาการเครียด การมีการจัดการฟาร์มที่ดีจะช่วยป้องกันและลดปัญหาเหล่านี้ได้
สาเหตุการเกิดโรค
โรคบิด เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวในกลุ่ม Cocidia ที่พบมากในแพะจะเป็นพวก Eimeria จะเข้าไปฝังตัวในเซลล์เยื่อบุลำไส้ และจะทำลายทำให้เยื่อบุลำไส้หลุดลอกเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เชื้อโปรโตซัวกลุ่มนี้จะมีความจำเพาะเจาะจงกับชนิดสัตว์นั้นๆ แต่บางครั้งมีการพบการติดต่อข้ามกันระหว่างแพะกับแกะ
อาการที่แสดงออกเมื่อมีการติดเชื้อ
เมื่อเชื้อบิดเข้าไปในเซลล์เยื่อบุลำไส้แล้วจะทำลายเซลล์เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกและมีสูญเสียน้ำ การดูดซึมอาหารไม่ดี อาการเริ่มต้นจะทำให้แพะมีอาการท้องเสียเป็นน้ำ ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีมูกเลือดปนและมีกลิ่นคาว บางรายที่เป็นรุนแรงมากๆอาจจะตายทันที่โดยไม่แสดงอาการท้องเสีย ภายใน 24 ชม. แพะที่มีอาการแบบเริ้อรังจะมีขนที่หยาบหลุดง่าย เวลาลูบตัวแพะจะมีขนร่วงค่อนข้างมาก น้ำหนักตัวลด น้ำนมลดเนื่องจากเยื่อบุลำไส้ถูกทำลายดูดซึมอาหารได้น้อย
ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ลูกแพะ และแพะที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้ จะมีความไวต่อเชื้อมาก โดยมากแล้วจะเป็นในช่วงที่มีความเครียด เช่น ช่วงหย่านม แพะโตเต็มวัยแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ แต่เมื่อใดก็ตามเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น สภาพภูมิอากาศ อาหารและการจัดการ โรงเรือนที่แคบปริมาณแพะที่หนาแน่น การจับบังคับและการไล่ต้อนฝูงแพะ ปัจจัยที่ทำให้จำนวนเชื้อในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ฝูงแพะขนาดใหญ่ในพื้นที่ชื้นแฉะ อาหารสัตว์ที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้แพะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากขึ้น
การแพร่กระจายของเชื้อ
เมื่อแพะได้รับเชื้อบิด(oocyst)โดยการกินเข้าไป เชื้อจะเข้าเกาะกับผนังลำไส้และฝังตัวเข้าไป จากนั้นจะเริ่มเพิ่มปริมาณเชื้อในผนังลำไส้ จนเซลล์เยื่อบุลำไส้แตก แล้วก็จะกระจายไปยังเซลล์ข้างเคียง กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีการหลุดเข้ามาในสิ่งแวดล้อมโดยผ่านมากับอุจจาระ ซึ่งเชื้อจะเปลี่ยนแปลงเป็น oocyst จะมีความคงทนต่อสภาวะแวดล้อมที่ร้อนชื้นโดยเฉพาะหน้าฝนในบ้านเรา ลูกแพะที่เริ่มกินหญ้า และลูกแพะเกิดใหม่จะพบว่ามี ปริมาณ oocyst ค่อนข้างมาก เนื่องจากในหญ้าและเต้านมของแม่แพะจะมีเชื้อติดอยู่ค่อนข้างมากทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อมาก เชื้อจะค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมและยาฆ่าเชื้อ แต่จะไม่ค่อยทนต่ออุณหภูมิที่สูง และแสงแดด แพะที่ไม่ได้รับเชื้อเพิ่มจากสิ่งแวดล้อมจะสามารถทนต่อโรคได้สามารถหายเองได้ ความรุนแรงของการเกิดอาการท้องเสียขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับเข้าไป
.
การควบคุมโรค
การควบคุมปริมาณเชื้อในสภาพแวดล้อม เป็นหัวใจหลักในการควบคุมและป้องกันโรคนี้ อันดับรองลงมาคือการจัดการความเครียดของแพะให้เกิดน้อยที่สุด อันดับสุดท้ายที่ควรคำนึงถึงคือการใช้ยาควบคุมในฟาร์มที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง
การควบคุมปริมาณเชื้อ
•ลดการปนเปื้อนของอุจจาระ แพะในอาหาร และน้ำ จัดแบ่งอาหารแพะเป็นชุดๆไม่ควรนำอาหารเหลือไปให้แพะชุดอื่นกิน
•รางน้ำและอาหารพยายามให้เป็นแบบที่แพะเดินย่ำไม่ได้หรืออุจจาระลงไปได้
•น้ำกินในคอกแพะ ไม่ควรให้จนล้น
•หน้าฝนไม่ควรปล่อยแพะลงในแปลงหญ้าเป็นฝูงขนาดใหญ่
การลดความเครียด
•คอกแพะควรมีความโล่งระบายอากาศได้ดี ระบายน้ำได้ดี
•หลีกเลี่ยงการเลี้ยงแพะปนกันระหว่างแพะเต็มวัยกับลูกแพะ
•ควบคุมสุขภาพแพะ โดยการให้อาหารคุณภาพดี และมีการถ่ายพยาธิสม่ำเสมอ
•หน้าฝนหลีกเลี่ยงการปล่อยแพะลงแปลงหญ้าเป็นระยะเวลานานๆ
•ลดการเลี้ยงแพะที่หนาแน่น คอกแพะเหมาะสมกับปริมาณแพะ
สาเหตุและอาการของโรคบรูเซลโลซิสในฟาร์มแพะ-แกะ
เชื้อแบคทีเรียก่อโรค คือ Brucella melitensis สัตว์ได้รับเชื้อ โรคจากสารคัดหลั่ง รกและน้ำเชื้อ โดยเชื้อเข้าทางปาก จมูกหรือตา ทางผิวหนังฉีกขาดหรือการผสมพันธุ์ เชื้อจะอยู่ใน กระแสเลือดในระยะ 10-20 วัน หลังจากได้รับเชื้อและอาจจะอยู่นาน 30-45 วัน สัตว์จะมีการ ตอบสนองทางซีรัมวิทยา โดยจะตรวจพบแอนติบอดีในซีรัมในระยะ 2-4 สัปดาห์และค่อยๆลดลงในบางครั้ง อาจจะไม่พบแอนติบอดี ในสัตว์ที่ตั้งท้องหรือพบแอนติบอดีในตัวสัตว์ไปจนถึงระยะแท้งลูก หรือคลอดลูก สัตว์อาจมีการแท้งลูกหรือไม่แท้งลูกก็ได้ขึ้นกับปริมาณ เชื้อที่มีอยู่ในร่างกาย สัตว์ที่อยู่ในระยะหยุดให้นมจะพบการตอบสนอง ในระดับที่ต่ำหรืออาจจะไม่พบการตอบสนองทางซีรัมวิทยา ปรากฎการณ์ เช่นนี้จะเป็นจุดอันตรายต่อการควบคุมและป้องกันโรค เพราะสัตว์เหล่านี้จะเป็นตัวอมโรคและแพร่โรค ซึ่งในระยะต่อมา จึงจะตรวจพบแอนติบอดีต่อโรค แพะ-แกะที่ติดโรคพบประมาณ 60-84% แท้งลูกเฉพาะการตั้งท้องแรกเท่านั้นแต่สามารถจะปล่อยเชื้อ ออกมาพร้อมกับ สารคัดหลั่ง รกในระยะคลอดลูกได้ในแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสมีโอกาสเกิดจากเชื้อ B. abortus ได้ถ้าเลี้ยงแพะร่วมกับโคที่เป็นโรคนี้ แต่โอกาสค่อนข้างน้อย และมักไม่แสดงอาการ
การป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในฟาร์มแพะ-แกะ
1. ไม่นำแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสหรือแพะที่มาจากฝูงที่เป็น โรคหรือมาจากฝูงที่ไม่เคยทดสอบโรคเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม
2. ทดสอบโรคบรูเซลโลซิสประจำปีอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
3. กรณีที่พบสัตว์แท้งลูกให้เก็บลูกสัตว์ที่แท้ง รกส่งตรวจเพื่อหา สาเหตุของโรค
4. ปรับปรุงระบบสุขาภิบาลให้เหมาะสมในการป้องกันโรค
5. ใส่ถุงมือป้องกันการติดเชื้อโรคกรณีที่ต้องสัมผัสกับรก น้ำคร่ำหรือสิ่งคัดหลั่งจากระบบสืบพันธุ์
6. ไม่มีการใช้วัคซีนโรคบรูเซลโลซิสในแพะ แกะ
การควบคุมโรคในฟาร์มแพะ-แกะที่ติดโรคบรูเซลโลซิส
1. ไม่ควรเคลื่อนย้ายแพะ แกะ เข้า-ออกฟาร์มจนกว่าจะมั่นใจว่า ไม่มีแพะที่เป็นโรคอยู่ในฝูง
2. กำจัดแพะที่เป็นโรค
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคในฝูงต่ำ ให้กำจัดตัวที่เป็นโรค ออกจากฝูงและตัวที่เหลือภายในฟาร์มให้ทดสอบโรคทุก 1-2 เดือน ติดต่อกันเพื่อกำจัดแพะที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาออกไปจากฝูงจน กระทั่งไม่พบสัตว์ที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคบรูเซลโลซิสในฝูง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคให้ผลบวกทางซีรั่มวิทยาที่มี เปอร์เซ็นต์สูงให้กำจัดแพะทั้งฝูง
3. ทำลายเชื้อโรคในคอกแพะภายหลังกำจัดแพะที่เป็นโรค ออกจากฝูง
4. ทำลายรก น้ำคร่ำที่ถูกขับออกมาในขณะที่แพะคลอด หรือ แท้ง โดยการฝังทันทีที่เห็นและทำลายเชื้อโรค
5. ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กเข้าในคอกแพะที่เป็นโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สัตว์แท้งลูก
6. เกษตรกรผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือสงสัยให้รีบปรึกษา แพทย์และแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อทดสอบโรคในฟาร์ม
การวินิจฉัยและชันสูตรโรคในแพะ-แกะ
1. การตรวจทางซีรัมวิทยา
- การคัดกรองโรคใช้วิธี Rose bengal test (RBT) มีวิธีการ แตกต่างจากการตรวจในโคเพื่อเพิ่มความไวในการทดสอบโรค ใช้แอนติเจน Rose Bengal ของสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (ส.ท.ช.) กรมปศุสัตว์ ที่ผลิตจาก B. abortus ชนิดเดียวกับที่ใช้ในโค กระบือ สุกร ตามที่ OIE ให้คำแนะนำ เนื่องจากมีคุณสมบัติของแอนติเจนร่วมกัน ใช้หลักเกณฑ์การทดสอบในโค ซึ่งถ้าหากจะเพิ่มความไวของการทดสอบโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของซีรั่มที่ใช้ทดสอบโรคจากเดิม 25-30 ไมโครลิตร เป็น 75 ไมโครลิตร และใช้แอนติเจน 25 ไมโครลิตร คนให้ผสมกันดี อ่านผลที่ 4 นาที
- การตรวจยืนยันใช้วิธี Complement fixation test (CFT) ร่วมกับ indirect ELISA (iELISA)
2. การเพาะแยกเชื้อและการตรวจทางชีวโมเลกุล
ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โปรดสอบถาม สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-8908-14 ต่อ 232, 234, 235 (อัตโนมัติ) กลุ่มอิมมูนและซีรัมวิทยา
ที่มา
สัตวแพทย์หญิงมนยา เอกทัตร์
หัวหน้ากลุ่มอิมมูนและซีรัมวิทยา
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ